วิธีการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการปฏิกิริยาเชิงสะท้อน

Main Article Content

วุฒิชัย ผาสุขกานนท์
ธีระวัฒน์ จันทึก

Abstract

         บทความทางวิชาการฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูล 2 ประการสำคัญ คือ 1) วิธีการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และ 2) แนวทางการประยุกต์ใช้กระบวนการปฏิกิริยาเชิงสะท้อน สำหรับพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์และสังเคราะห์จากการทบทวนวรรณกรรม แนวคิดทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สำหรับสะท้อนให้เห็นวิวัฒนาการของการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ จากการศึกษาพบว่า จากอดีตจนถึงปัจจุบันได้มีการนำแนวคิดและทฤษฏี เพื่อการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์มากมาย แต่จะแตกต่างจากทฤษฎีเซลล์กระจกเงา (Mirror Neuron Theory) โดยเซลล์ประสาทจะมีกระบวนการปฏิกิริยาเชิงสะท้อน (Mirror Reaction) ที่สะท้อนภาพตัวแบบ ที่เรามองเห็นเสมือนหนึ่งว่าเป็นกระจกเงาที่สะท้อนภาพทุกอย่าง (Iacoboni. 2008) ภาพที่ถูกสะท้อนเข้าไปจะทำให้เราเกิดพฤติกรรมและมีความรู้สึกเช่นเดียวกับตัวแบบ จากปรากฏการนี้ จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างยอมรับว่าเซลล์กระจกเงา คือกลไกสำคัญที่ทำให้เราสามารถเข้าใจ รับรู้ถึงจิตใจและความรู้สึกของคนอื่นที่อยู่รอบตัวเราได้ และจากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น จะเห็นได้ว่าการที่จะพัฒนามนุษย์นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน โดยการที่จะพัฒนาคนๆ เพื่อให้มีศักยภาพที่ดีได้นั้น จะต้องมีวิธีการปรับทัศนคติ ให้คนๆ นั้นเกิดการเรียนรู้ จากเนื้อหาการเรียนรู้ แล้วแสดงพฤติกรรมออกมาเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับ จากนั้นเพื่อให้ทราบผลของการดำเนินงานว่าสำเร็จหรือไม่นั้นจะต้องมีการประเมินผล ร่วมด้วย ดังนั้นผู้เขียนจึงได้นำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับทฤษฎีเซลล์กระจกเงา ในรูปแบบ กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ตาม AKEE Model

 

         This academic article aims to present information upon two crucial aspecs including: 1) human resource development method; and 2) guidelines for applying mirror reaction process for developing the potential of human resource. The researcher reviewed related literature, theories, and research finding for reflecting evolution of human resource’s potential development because human resource is important for driving development in several fields. The results showed that several concepts and theories have been used for developing the potential of human resource from past to present. However, those concepts and theories are different from Mirror Neuron Theory, whereas, neuron has the mirror reaction reflecting perceived prototype image as if the mirror reflecting all perceived images (Iacoboni. 2008). Reflected images make us have the same behaviors and feeling as those of prototype images. From this phenomenon, scientists throughout the world have accepted that mirror neuron is the important mechanism enabling us to understand and perceive mind and feeling of other people around us. According to literature review on human resource development, it could be seen that human resource development is quite sensitive process because it is necessary to adjust attitude of person to learn from learning content and expressing his/her behaviors as the mirror reaction in order to have improved potential. In order to perceive the result of this operation, it is also necessary to evaluate success of this operation. As a result, the researcher presented the model for applying human resource development to Mirror Theory in the form of AKEE Model.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ