แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษาครู:การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์

Main Article Content

ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม
ยุวรี ผลพันธิน

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษาครู: การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษาครู 2) วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับ นักศึกษาครู และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษาครู การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การระบุความต้องการจำเป็น (Needsidentification) 2) การวิเคราะห์สาเหตุความต้องการจำเป็น (Needs analysis) และ 3) การกำหนดแนวทางแก้ไข (Needs solution selection)  โดย 2 ขั้นตอนแรกใช้การสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับนักศึกษาครูจากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 600 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน (Two stage random sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Index :PNImodified) วิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษาครูด้วยโปรแกรม LISREL version 8.72 และขั้นตอนการกำหนดแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษาครู ใช้การสัมภาษณ์และการประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาชีพครู และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยจำนวน 24 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

      ผลการวิจัยพบว่า

         1.  ความต้องการจำเป็นสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษาครู

       ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) สมรรถนะในการวิจัยพบว่า ในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.35 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด ได้แก่ ด้านความรู้ในการวิจัย และด้านความสามารถในการวิจัย (0.38 เท่ากัน) รองลงมาคือ ด้านจรรยาบรรณ (0.28) 

         2. ผลการพัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุความต้องการจำเป็นสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษาครู

       โมเดลเชิงสาเหตุความต้องการจำเป็นสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษาครูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (Chi-square) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 10.810 ที่องศาอิสระเท่ากับ 17 ค่าความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.866 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.996 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.988 และค่าดัชนีรากที่สองของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ 0.005

         3. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษาครู

       แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษาครูพบว่ามี 10 แนวทาง และผลการจัดลำดับความสำคัญแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษาครู พบว่า ผู้ประเมินส่วนใหญ่ให้น้ำหนักความสำคัญในแนวทางที่ 5 “ทดลองทำวิจัยผ่านกระบวนการปฏิบัติจริง ให้นักศึกษาฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจนเกิดความชำนาญ” สูงที่สุดเป็นลำดับแรก รองลงมาคือ แนวทางที่ 1 “จัดกระบวนการเรียนการสอนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน (Research-BasedLearning)” และแนวทางที่ 2 “จัดระบบพี่เลี้ยงและระบบการโค้ช (Coaching) ให้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย หรือครูต้นแบบด้านการวิจัย” ตามลำดับ

 

         This research conducted a complete needs assessment to study a guideline to develop research competency for the student teacher. The objectives of the research were 1) to analyze the needs of research competency for the student teacher, 2) to analyze causal factors that affect research competency of the student teacher, and 3) to study the guideline to develop research competency for the student teacher. The research composed of three steps, including: 1) Needs identification, 2) Needs analysis, and 3) Needs solution selection. The first two steps were conducted by using a questionnaire with 600 student teachers from Faculty of Education in public universities or autonomous universities during the class of 2015.  Two stage random sampling method was employed to select a sample group. The statistics used in the research included mean, standard deviation, Modified Priority Index: PNImodified. Causal factors model affecting research competency of the student teacher was analyzed by LISREL version 8.72. The guideline for developing research competency of the student teacher was identified by the interview and evaluation to set the priority by 24 experts in education and research. Data was analyzed by mean and content analysis. 

         The research found that:

            1.  The needs for research competency of the student teacher

          PNIModified of research competency indicated that the overall score was at 0.35. The aspect that had the highest needs was knowledge in research and research ability (an equal score at 0.38), followed by ethics (0.28).

            2. The results of the development and testing of the causal model of needs for research competency for the student teacher

          The causal model of needs for research competency for the student teacher was suitable with the empirical data. Chi-square value was 10.810 with the degrees of freedom (df) of 17, p-value of 0.866, the goodness  of  fit  index (GFI)  of 0.996, the adjusted goodness of fit index (AGFI)of 0.988, and the  root  mean square  residual (RMR) of 0.005.

            3.  The results of the study of the guideline to develop research competency for the student teacher

          The guideline to develop research competency for the student teacher consisted of 10 items and the results of prioritizing the guideline to develop research competency for the student teacher found that most respondents considered item 5 “Conducting research through practice which will enable students to practice continually to gain proficiency” as the most important priority, followed by item 1 “The implementation of research-based learning in teaching”, and item 2 “Providing mentoring and coaching for students by experts in research or research model teachers” respectively. 

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ