ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ 5A ที่มีต่ออภิปัญญา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ธนาวุฒิ ลาตวงษ์
ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล
ณสรรค์ ผลโภค
มนัส บุญประกอบ

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถด้านอภิปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ 5A หลังเรียนกับก่อนเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ 5A หลังเรียนกับก่อนเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการรับนักเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านอภิปัญญา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว

 

          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

           1.  คะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านอภิปัญญาของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ 5A รายด้านและภาพรวม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงที่สุด ได้แก่ การประเมินผล ส่วนด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนต่ำที่สุด ได้แก่ การวางแผน

           2.  คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ 5A หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

        The purposes of this research were to study Metacognition abilities of the ninth-grade students before and after using 5A science learning model and Metacognition abilities after using 5A science learning model comparing the criteria and to study science learning achievement of the ninth-grade students before and after using 5A learning model and science learning achievement after using 5A science learning model comparing the criteria. The participants were 30 volunteer students in one classroom who studied in ninth-grade during summer time of 2015 academic year. The research instruments consisted of Metacognition abilities test and science learning achievement test. The data were analyzed using mean, standard deviation, t-test for dependent sample, and t-test for one sample.The results were summarized as follows:

           1.  The posttest mean scores of students’ Metacognition abilities in all components and in the overall after using the 5A science learning model were statistically significantly higher than the pretest mean scores at the .01 level and were also statistically significantly higher than 50 percent criteria at the .01 level. The component of Metacognition that students gained the highest mean score was evaluating and gained the lowest mean score was planning.

           2.  The posttest mean scores of students’ science learning achievement after using the 5A science learning model were statistically significantly higher than the pretest mean score at the .01 level.  Furthermore, they were also statistically significantly higher than 70 percent criteria at the .01 level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ