ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพตามแนวคิด Two – Generation Approach

Main Article Content

สุรภา เกตุมาลา
สุมลนิตย์ เกิดหนุนวงศ์
วิภาวรรณ สุขสถิตย์

Abstract

       การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย  1) เพื่อสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation  Approach  2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation  Approach กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้สำหรับการวิจัย ประกอบด้วย 1) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการสัมภาษณ์ จำนวน 30 คน 2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน  และ 3) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation Approach จำนวน 20 คน  โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้ใหญ่จำนวน 10 คน และเด็กที่มีอายุระหว่าง 10 -12 ปี จำนวน 10 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test  Dependent

        ผลการวิจัยพบว่า

          1.  ผลการสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two –Generation  Approach ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดหลักปรัชญาพื้นฐาน  ขั้นตอนที่  3 การสร้างทีมงานกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญและคนในพื้นที่เพื่อทำการวิเคราะห์ ภาพรวมทั้งหมดและกำหนดแผนการทำงานร่วมกัน ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบโปรแกรม ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ คือ (1)หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์  (3) เนื้อหาการฝึกอบรม (4) การจัดกิจกรรม  (5) รูปแบบการเรียนรู้  (6) วิธีการสอน (7) สื่อและอุปกรณ์การสอน (8) งบประมาณ (9) คุณค่า หรือ ประโยชน์ที่ได้รับ (10) การประเมินผล

          2.  ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรม  1) ผลการทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังเข้ารับการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม  พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเข้ารับการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลการประเมินตามสภาพจริงการสานกระจาดแม่ลา พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีผลงานการสานกระจาดแม่ลาโดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี 3) ผลการประเมินกลยุทธ์ Two – Generation  Approach ด้านการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาให้กับเด็ก พบว่า โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี

 

         The  purpose  of  this  research  were  to  develop  a  training  program  for  career development  based  on Two – Generation  Approach. First  to  create  and  design  a  training  program  for  career  development  based  on a  Two-Generation  Approach and  second  to  study effectiveness  it, The  sample  consisted  of  important  persons  in  communities : 30  subjects  for  interviews  15  for  focus  groups,  and  20  for  experiment   by  purposive  sampling  which  was divided  into 10 adults  and  10 children. Data  were  analyzed  by  using  t-test dependent statistic.

         The  Research  found  that

            1.  The  development  of  the  training  program has four steps; one  was  analysing  scope  of  problems  and  need , two  was  providing  philosophy of education,  three  was  building  a  team of expert  groups and area residents to  analyse  the overall  framework  and  planning  together, four  was  designing  a  training  program  which  has 10 elements  (1)  mission (criterias and reasons)  (2) objectives  (3)  content  (4) activities  (5) learning model (6)  method  (7) instructional media (8)  budgets  (9) benefit  and  (10)  evaluation.

             2.  The  results  of  the  effectiveness  training  program  found  that  results  of  the  knowledge  test pre-test and post-test showed statistically significant differences in  knowledge  scores  at .05 significance level. The  results  of  the  authentic assessment  on  Maela  Basket  found  that  overall  trainees have  a  fair quality level. The results  of  the strategic  integrated  Two – Generation  Approach  with  major learning items  of  each  content  for  children  found  that  overall  trainees  have  fair quality  level.  

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ