ศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ศิราวัลย์ อินทามระ
อุษา คงทอง

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงทดลอง  โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา  ปีที่ 2 โรงเรียนโพธิ์ทอง “จินดามณี”ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 258 จังหวัดอ่างทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 และมีสมรรถภาพทางกายต่ำ จำนวน 60 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบของการจัดกิจกรรมเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน และกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมเล่นกีฬา กลุ่มละ 30 คน ใช้เวลาในการทดลองทั้งสิ้น 10 สัปดาห์ เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดพฤติกรรม  การออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการอบรมเลี้ยงดู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 แบบวัดพฤติกรรมสุขภาพและแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย ที่สัมพันธ์กับสุขภาพมีค่าความเชื่อมันเท่ากับ 0.95 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way ANOVA Repeated Measure)

 ผลการวิจัยพบว่า

          ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เป็นกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านสุขภาพสังคม ด้านสุขภาพอารมณ์ และด้านสุขภาพปัญญา สูงกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เป็นกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

          The objective of this research was to study the results of using an activity model to promoting the health behaviors for grade 8 students. This research was an experimental method for studying the results of using an activity model to promoting the health behaviors for grade 8 students. The sample was  the sample 60 students who were low physical capacity of Phothong  “Jindamani” school , Ang Thong province under Secondary Educational  Service Area office 5, selected by voluntary sampling then using simple random sampling in order to divide into an experiment group 30 students which using an activity model to promoting the health behaviors and controlled group 30 students which using sport activity. The research was conducted 10 weeks. The instrument for data collection were the test on exercise behavior, food consumption behavior and nurturing  with reliability at 0.96, and the test on health behavior and physical capacity  related the health with reliability at 0.95 The statistics used for data analysis were mean, S.D., one-way ANOVA with repeated measures,

          The research findings revealed that the results of using an activity model to promoting the health behaviors for grade 8 students found that an experiment group had a development of health behaviors for 5 components such as physical health,  mental health,  social health, emotional health and intellectual health higher than the controlled group at a significance of .05.

 

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ