ยุทธศาสตร์และแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านแรงงานผู้สูงอายุเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางด้านกำลังแรงงานไทยในอนาคต

Main Article Content

ดรุณี พจนานุกูลกิจ
กัมปนาท บริบูรณ์
เพ็ญแข ประจนปัจจนึก

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษายุทธศาสตร์และแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านแรงงานผู้สูงอายุ 2 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนากลุ่มผู้สูงอายุให้มีศักยภาพในการทำงานสามารถนำกลับเข้าสู่แรงงานได้ 2) การเตรียมความพร้อมของรัฐในเรื่องการยืดหยุ่นและจัดเตรียมในเรื่องระเบียบ กฎหมาย และแนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุกลับเข้ามาสู่แรงงานได้อีกครั้งหนึ่ง และเพื่อประมวลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับนำมาเป็นรูปแบบของแนวปฏิบัติต่อไป โดยใช้วิธีศึกษาแบบเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) สอบถามความคิดเห็น จำนวน 3 รอบ จากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน ประกอบด้วย ผู้ชำนาญการทางการศึกษา ด้านแรงงาน และกลุ่มผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามปลายเปิดในรอบที่ 1 และแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นแบบปลายปิดอีก 2 รอบ การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยใช้สถิติวิเคราะห์ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range)

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเห็นสอดคล้องกันสูงมากในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์และแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านแรงงานผู้สูงอายุใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาตัวของผู้สูงอายุเอง และด้านการยืดหยุ่นและจัดเตรียมในเรื่องระเบียบกฎหมาย และแนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุกลับเข้าสู่แรงงานได้  โดยให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ สำคัญ ได้แก่ ก่อนการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุต้องมีการสำรวจความสนใจ ความต้องการและความสามารถของผู้สูงอายุ โดยให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน เพื่อสร้างอาชีพและมีรายได้ ผู้ทำหน้าที่จัดการศึกษาต้องมีความรู้และความสามารถในศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ ควรจัดการศึกษาในรูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อฝึกอาชีพ ทักษะ ตามความสนใจของผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมให้เครือข่าย ชมรม เข้ามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของพื้นที่ตนเอง หลักสูตรต้องมีความยืดหยุ่น ตรงกับความสนใจและความต้องการของผู้สูงอายุ เป็นหลักสูตรระยะสั้น มีหลากหลายรูปแบบ และมีเนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน สำหรับในด้านการเตรียมความพร้อมของรัฐในเรื่องการยืดหยุ่นและจัดเตรียมในเรื่องระเบียบ กฎหมาย และแนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุกลับเข้ามาสู่แรงงานได้อีกครั้งหนึ่ง กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า ต้องมีการแก้กฎหมายให้เอื้อต่อการขยายอายุการทำงาน เช่น พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ร.บ.ประกันสังคม เป็นต้น และต้องมีการสร้างรูปแบบในการอำนวยความสะดวกต่อการจ้างงานแรงงานสูงอายุ โดยคำนึงถึงความยืดหยุ่น ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ มีรณรงค์ให้คนหนุ่มสาวตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมตัวในวัยสูงอายุ โดยจัดระบบการเรียนรู้และสื่อรูปแบบต่างๆ และต้องมีการสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในสังคมเกี่ยวกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการทำงานของผู้สูงอายุตามศักยภาพอย่างมีศักดิ์ศรี และในประการสำคัญต้องมีการกำหนดนโยบายการส่งเสริมโอกาสการมีงานทำในผู้สูงอายุเป็นวาระแห่งชาติอย่างรีบด่วน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผลการวิจัยทำให้ได้รูปแบบของแนวปฏิบัติ เพื่อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการเตรียมความพร้อม 2) ขั้นดำเนินการ 3) ขั้นประเมินผล 4) ขั้นเผยแพร่

 

            The purposes of this study were to identify the strategies and the methods for the preparation of elderly Thai people to work in the work force. This is necessary in order to solve the Thai Labor Force crisis in the future. The Delphi Technique should be used as a research method and twenty of the three groups of experts in education, labor and the Thai elderly were purposively selected for the study. The research instruments were an open-ended questionnaire and close-ended questionnaire, seeking the opinions of the experts regarding the preparation of elderly Thai people and labor in two areas: the preparation in terms of lifting up the working abilities of the elderly laborers and regulations and a modification of the Thai Labor law in order to help them to reenter the work force. The data collection consisted of sending questionnaires to the experts in three rounds: an open-ended questionnaire in the first round, and a close-ended questionnaire in the second and third rounds. The data analysis was performed using Delphi research technique statistics, Median and Interquartile Range, in order to identify the level of agreement between the expert groups.

            The results of the research indicated that the experts agreed that elderly Thai laborers should return back to the labor force. The Thai labor laws and regulations should be amended and changed to give chance to the elderly labors to reenter into the work force again. In addition, prior to the development of their education, the elderly should to be provided attention as well as the needs and abilities of older adults. In order to comply with the labor market, the Education Act promotes knowledge of ability in science education for seniors. This should also be applied to the education of school seniors. There should also be job skills training required to meet the interests of the elderly. Such programs must be flexible, as well as meet the interests and needs of the elderly. A short course should be recommended, especially with an emphasis on diversity. The content should also be consistent with the needs of the labor market. This is necessary in terms of preparation for the state and the flexibility provided by the law to allow older people back into the workforce again. The experts commented on the consistency and suggested amending the law to facilitate the extension of working life. The elderly, May have Social Security, or other forms of income and have built a model to facilitate the employment of older workers.This model takes into account the flexibility and the possibility in terms of practice. A campaign to make young people aware of the importance of preparing for the elderly by learning systems and new media formats. This includes the need to create the right attitudes in society about the elderly in general.The working potential of older people, as well as the aspect of their dignity. There is also a significant need for the policy to promote employment opportunities for the elderly, which should be considered an urgent national priority. In this research a form of practice was submitted to the relevant authorities for implementation and includes four phases: 1) preparation 2) operation 3) evaluation 4) publicize

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ