การศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมที่สัมพันธ์ต่อความต้องการเข้าชมดนตรีคลาสสิก วงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

Main Article Content

พลอยไพลิน พงษ์ศิริแสน
ธีระวัฒน์ จันทึก

Abstract

         การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปด้านประชากรศาสตร์และด้านพฤติกรรมการตัดสินใจเข้าชมดนตรีคลาสสิกของผู้บริโภคที่สัมพันธ์ต่อวงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิตร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าไค-สแควร์

         ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพโสด มีอายุระหว่าง 15 – 24 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา และไม่มีรายได้ และ 2) ปัจจัยด้านพฤติกรรมการตัดสินใจเข้าชมดนตรีคลาสสิก พิจาณาจาก วัตถุประสงค์เข้าชมดนตรีคลาสสิกเลือกจากความชื่นชอบโปรแกรมการแสดง วิธีการค้นหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิกเลือกจากสื่ออินเตอร์เน็ต เช่น Website Facebook Line เป็นต้น สถานที่จัดการแสดงเลือกจากวันและเวลาที่จัดการแสดง การส่งเสริมการตลาด (โฆษณาหรือประชาสัมพันธ์) เลือกจากสื่ออินเตอร์เน็ต เช่น Website Facebook Line เป็นต้น รูปแบบการแสดงเลือกจากโปรแกรมการแสดง บุคคลที่ชักชวนให้เข้าชมดนตรีคลาสสิกเลือกจากวาทยกรหรือศิลปินหรือวงดนตรี วิธีการสำรองที่นั่งเข้าชมดนตรีคลาสสิกเลือกจากผ่านช่องทางเว็บไซต์ของผู้จัดการแสดง ความพึงพอใจหลังจากเข้าชมดนตรีคลาสสิกเลือกจากภาพรวมของคอนเสิร์ตการแสดง

          ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคดนตรีคลาสสิกวงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนามีความต้องการเข้าชมดนตรีคลาสสิกวงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยด้านพฤติกรรมการตัดสินใจเข้าชมดนตรีคลาสสิกสัมพันธ์ต่อความต้องการเข้าชมดนตรีคลาสสิกอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ วัตถุประสงค์เข้าชมดนตรีคลาสสิก วิธีการค้นหาข้อมูลข่าวสาร สถานที่จัดการแสดง การส่งเสริมการตลาด (โฆษณาหรือประชาสัมพันธ์) รูปแบบการแสดง บุคคลที่ชักชวนให้เข้าชมดนตรีคลาสสิก วิธีการสำรองที่นั่ง และความพึงพอใจหลังจากเข้าชมมีความสัมพันธ์ต่อความต้องการเข้าชมดนตรีคลาสสิกวงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

 

           This research aims to study demographic and behavioral quantity of consumers relevant with Princess Galyani Vadhana Institute of Music Youth Orchestra. Population in this research is sample of 400 people. Questionnaire is used in the process. Statics used in the process are percentage, mean and Chi-square.

           The result indicates that – 1.) Demographically, the majority of consumers is woman, single, aged between 15 - 24, being under-graduated student and hasn’t got income. 2.) Behaviorally, factors that affects consumers’ decision to attend classical music concert, In each aspect, are as followed –Objective with program of the concerts, Accessibility to the information of the concerts with the internet (Website, Facebook and Line, for instance), Concert venue with date and time, Promotion (public relation and advertisement) with the internet such as Website, Facebook and Line, Performance with type of performance, Personal invitation with conductors, artists and the ensembles, Reservation with website, Satisfactory with overall concerts.

           According to the sample (consumers of Princess Galyani Vadhana Institute of Music Youth Orchestra), behavioral factors of decision relates to demand for attending classical music concerts with statistical significance of 0.5, and they comprises :- Objective to attend the concerts, Accessibility to information, Concert venue, Promotion (public relation and advertisement), Type of performances, Personal invitation, Procedure of reservation and Satisfactory of the concerts.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ