ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลต้นแบบ ที่บูรณาการแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของชาวชุมชนต่อกลยุทธ์สร้างการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลต้นแบบที่บูรณาการแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนใน อบต. ต้นแบบที่บูรณาการแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนใน อบต. ต้นแบบ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยส่วนบุคคลของชาวชุมชน และกลยุทธ์สร้างการมีส่วนร่วมของ อบต. ต้นแบบ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชาวชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลต้นแบบที่มีการบูรณาการแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 21 อบต.โดยรวบรวมข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 600 ตัวอย่าง ซึ่งได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาทั้งสิ้น 512 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 85.33 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบปกติ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ชาวชุมชนเห็นว่า อบต. สร้างการมีส่วนร่วมแก่ชาวชุมชน ระดับปานกลาง โดยชาวชุมชนมีส่วนร่วมประชุมหมู่บ้านมากที่สุด ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sig < 0.05) ได้แก่ อาชีพ รายได้ของชาวชุมชน อบต. ใช้กลยุทธ์จัดกิจกรรมหรือโครงการอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และ อบต. สื่อสารให้ข้อมูลข่าวสารแก่ชาวชุมชนอย่างชัดเจน ซึ่งมีผลทางบวกแก่การมีส่วนร่วมของชาวชุมชน แต่การให้อิสระแก่ชาวชุมชนดำเนินกิจกรรมหรือโครงการกันเองกลับมีผลให้ชาวชุมชนมีส่วนร่วมลดลง
The objectives of this research are 1) to study the opinion about the strategies used for promoting the participation of the people in modeled Subdistrict Administrative Organizations (SAOs) in Nakhon Si Thammarat, 2) to study the participation of the people in those SAOs. 3) to study major factors affecting the participation of the people in the communities, which include personal factors of the people and participative strategies of the modelled SAOs. Population used in this study is the people in 21 modelled SAOs. Out of 600 samples, 512 questionnaires were obtained, representing about 85.33% of the total sample sent out. Statistical analysis used includes percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis. The results of the study showed that people in modelled SAOs viewed the level of participative development as moderate, where people in these communities actively participated in community’s meetings. Factors that significantly affected the level of people’s participation included occupation, income, consistency in holding participative activities, and directness in providing relevant communication. However, the study found that, by proving greater autonomy to the people in managing activities, the level of people’s participation tended to decrease.