การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการโค้ชทางปัญญา ในงานบริหารและบริการของภาครัฐ
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อศึกษาและกำหนดกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของรูปแบบการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการโค้ชทางปัญญา ในงานบริหารและบริการของภาครัฐ 2.) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการโค้ชทางปัญญาในงานบริหารและการบริการของภาครัฐ โดยมีขั้นตอนการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1.) การศึกษาและกำหนดกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของรูปแบบ โดยการสร้างทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) โดยรวบรวมข้อมูลจาก กลุ่มกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ข้าราชการในตำแหน่งนักวิชาการชำนาญการ และนักวิชาการชำนาญการพิเศษ สังกัดกระทรวงการคลัง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนางานบริหารและบริการ จำนวน 14 คน กลุ่มที่ 2 อาจารย์ด้านการเรียนรู้และจิตวิทยาทางปัญญา จำนวน 2 คน และกลุ่มที่ 3 โค้ชผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการคิดสร้างสรรค์และโค้ชที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการพัฒนาโค้ชมืออาชีพมาตรฐานสากล PCCP (Professional Coach Certification Program) ของสถาบันโค้ชไทย (Thailand Coaching Institute) หลักสูตรโค้ชมืออาชีพที่ได้รับการอนุมัติจากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ ICF (International Coach Federation) จำนวน 17 คน รวมทั้งหมด 33 คน ผู้วิจัยใช้แบบแผนการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ร่วมกับการเลือกตัวอย่างแบบสโนว์บอล (Snowball Sampling) รวบรวมข้อมูลจนไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม หรือข้อมูลถึงจุดอิ่มตัว (Theoretical Saturation) 2.) การออกแบบพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบหาค่า ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของรูปแบบและเครื่องมือในการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะที่เหมาะสมของความคิดสร้างสรรค์ในงานบริหารและบริการของภาครัฐ มี 4 ประการ ประกอบด้วย 1) แรงขับที่พึงประสงค์ (Desired) 2) ความคิดอเนกนัย (Divergent) 3) ความแตกต่างไปจากเดิม (Difference) 4) พัฒนาให้ดีขึ้น (Development) มีขั้นตอนการโค้ช 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตกลงกันเพื่อโค้ช 2) สร้างความไว้วางใจ 3) การถามถึงเป้าหมาย 4) สื่อสารเพื่อเป้าหมายที่แท้จริง 5) สิ่งที่เป็นจริง ณ ปัจจุบัน 6) วิธีที่จะถึงเป้าหมาย 7) สิ่งที่จะทำจนถึงเป้าหมาย 8) สรุปความเข้าใจตรงกัน 9) ประเมินและติดตามจนบรรลุเป้าหมาย และกระบวนการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ในงาน (TGIF) ได้แก่ 1) การปรับเจตคติในการมองปัญหา พร้อมเปิดใจ เรียนรู้สิ่งใหม่ (Tune up Attitude) 2) ตั้งเป้าหมายการดำเนินงาน (Goal Setting) 3) จุดประกายความคิดสู่การลงมือปฎิบัติ (Inspired Idea) 4) ความก้าวหน้าทางความคิดสร้างสรรค์ (Forward Idea) นอกจากนี้ยังได้รูปแบบการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการโค้ชทางปัญญา ในงานบริหารและบริการของภาครัฐ ประกอบด้วย 1) รายละเอียดของรูปแบบ มีเนื้อหาคือ วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย ผู้อำนวยกระบวนการ ระยะเวลาการเรียนรู้ สถานที่ และรูปแบบการเรียนรู้ 2) การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบ จะมีการวัดผลก่อนและหลังการทดสอบรูปแบบ การสร้างนวัตกรรมโครงการ (Project Innovation) ประเมินผลงานเชิงความคิดสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ในการปฏิบัติงาน ผลการศึกษาทำให้ได้กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของรูปแบบการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการโค้ชทางปัญญา ในงานบริหารและบริการของภาครัฐ
This Research Paper aimed to 1) study the theoretical framework for reinforcing creative thinking via cognitive coaching model and 2) develop and verify model for reinforcing creative thinking via cognitive coaching in management and service for public sector. The researcher conducted this research in 2 phases: First, Study and formulate the theoretical framework of the model by construct grounded theory by gathering information from management and service senior specialist officer of ministry of finance 14 people, creative thinking expertise 2 people, and creative coach 17 people. Second, develop and verify model from 5 experts interview to determine the model content validation with the technical analysis for the IOC.
The resulted reveal that the 4 appropriate attribute of creativity at work are desired, divergent thinking, difference and development. 9 steps of coaching are 1) establishing the coaching agreement 2) establishing trust and intimacy 3) asking for goal 4) communicating for end goal 5) reality 6) option 7) will 8) creating agreement 9) follow and monitoring. The 4 element of Reinforcing creative thinking process (TGIF) are 1) tune up attitude 2) goal setting 3) Inspired idea 4) forward idea. Furthermore reinforcing creativethinking via cognitive coaching model in management and service for public as the details of the format, there is the objective, content, target group. Director of process duration, place and learning learning pattern 2) model performance evaluation will be measured before and after the test pattern to create innovative projects (Project Innovation) evaluate spatial creativity applied to the worker. Results of the study allow a theoretical framework of reinforcing creativity, cognitive coaching process in management and services for public sector.