การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นเนื้อหาอาเซียน เพื่อพัฒนาทักษะ การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นเนื้อหาอาเซียน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้อง ได้มาโดยการสุ่มห้องเรียนอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้นักเรียนจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นเนื้อหาอาเซียน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียน และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบจับคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีค่าเท่ากับ 83.44/88.60 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 จึงถือว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ 2) ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าความสามารถก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความคิดเห็นในระดับดีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นเนื้อหาอาเซียนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
The purposes of the research were: 1) to develop and test the efficiency of Computer Assisted Language Learning (CALL) lessons based on ASEAN Community themes to enhance English reading comprehension abilities for Matthayomsuksa one students of Benjamarachutit Ratchaburi School, 2) to compare students’ reading comprehension abilities before and after learning the materials, and 3) to study the students’ opinions toward the CALL constructed materials. The samples consisted of one randomly selected class of 50 Matthayomsuksa one students of Benjamarachutit Ratchaburi School,during the 2015 academic year. The instruments used for this research were: 1) the ten lessons of the CALL materials, 2) the pre-post English reading comprehension abilities based on ASEAN Community themes, and 3) the questionnaire for studying the students’ opinions toward the CALL constructed materials. A paired-samples t-test, the mean and standard deviation of items were used to analyze the data. The results of the research were as follows: 1) The average formative test score of the ten lessons of the CALL materials was 83.44 percent and the average summative test score was 88.60 percent (83.44/88.60), which is higher than the set criterion (75/75). This means that the constructed CALL materials were highly effective, 2) The students’ English reading comprehension abilities based on ASEAN Community themes after learning with the CALL materials was significantly higher at the 0.05 level, and 3) The students’ opinions toward the CALL constructed materials were at a good level.