แรงจูงใจด้านนันทนาการและปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับมาเยือนพื้นที่ของนักท่องเที่ยว ที่ไปเยือนน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์

Main Article Content

กฤษณา กสิกรรม
นภวรรณ ฐานะกาญจน์พงษ์เขียว

Abstract

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในการไปเยือนน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์จังหวัดกาญจนบุรีและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวในการกลับมาเยือนพื้นที่โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 - เดือนเมษายน พ.ศ. 2559 โดยทำการเก็บข้อมูลครอบคลุมทั้งวันหยุดและวันธรรมดา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ปัจจัย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ พบว่าแรงจูงใจในการมาเยือนน้ำตกห้วยแม่ขมิ้นที่มีความสำคัญสูงสุดเป็นลำดับแรก คือ การได้รับอากาศบริสุทธิ์ รองลงมาคือการได้ทำกิจกรรม/ใช้เวลาร่วมกับคนใกล้ชิด และ การได้ใกล้ชิด สัมผัส และอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ โดยสามารถจัดกลุ่มแรงจูงใจจำนวน 21 ประเด็นได้ทั้งสิ้น 4 กลุ่มปัจจัย ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้สภาพแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว ความคิดเห็นต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการ และประสบการณ์นันทนาการที่ได้รับ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจโดยรวมในการมาเยือนของนักท่องเที่ยว และความพึงพอใจโดยรวมมีอิทธิพลต่อความต้องการในการกลับมาเยือนพื้นที่ในอนาคต

 

        This study aimed to examine the motivations of tourists visiting Huai Mae Khamin Waterfall, Khuean Srinagarindra National Park, Kanchanaburi Province and to study the factors affecting the decision of tourists in revisiting the area. Questionnaires were used to collect data from 400 tourists visiting the area during November 2015 - April 2016 in both weekends and weekdays. The survey data were analyzed by descriptive statistics, factor analysis, correlation analysis and multiple regression analysis. The results found that the most important motivation to visit the study area was to get fresh air. The second and third important motivations were to be with considerate people and to gain general nature experience, respectively. Twenty-one items of tourists’ motivation could be grouped into 4 factors. Hypothesis testing found that environmental perception, opinions toward facilities and services, and recreation experiences influenced tourists’ overall satisfaction. And the overall satisfaction influenced their needs to revisit the study area in the future.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ