ปัจจัยการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

จารุณี อินทร์เพ็ชร
กาญจนา บุญส่ง

Abstract

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 2) ระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ 3) ปัจจัยการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนตามมาตรฐานของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 210 คน ได้แก่ ผู้บริหาร นักวิชาการศึกษา หัวหน้าศูนย์หรือครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ดูแลเด็ก คณะกรรมการศูนย์ฯ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) สังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า

          1. ระดับปัจจัยการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับแรกคือ กระบวนการบริหาร ได้แก่ การจัดองค์การ การวางแผน การอำนวยการ การจัดคนเข้าทำงาน และการควบคุม และอันดับสุดท้ายคือ ปัจจัยการบริหาร ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ การจัดการ บุคลากร และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ

          2. คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับแรกคือ ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว รองลงมาคือ ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร ตามลำดับ

          3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้แก่ องค์ประกอบกระบวนการบริหาร และองค์ประกอบปัจจัยการบริหาร โดยมีประสิทธิภาพในการทำนาย ร้อยละ 34

 

           The purposes of this research were to study: 1) the level factors of child development center of local administration, 2) the level of child quality according to the standards of department of local administration, and 3) the factors affecting quality of children, according to the standards of department of local administration, in child development centers under Prachuap Khiri Khan local administrative organizations. There were 210 research samples consisting of administrators, educational scholars, heads or teachers of the centers, child carers, and the center committees (the experts), under Prachuap Khiri Khan local administrative organizations. The tool for data collection was a questionnaire. The data were analyze by using percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis. The research results were as follows:

               1. The level factors of child development center of local administration were at a high level in overall and in each aspect. When average mean of each aspect was considered, the aspect with the highest mean was administrative procedure consisting of organizing, planning, directing, staffing, and controlling, whereas the aspect with the lowest mean was administrative factors consisting of materials, money, management, man, and information technology (ranked in descending order of their means).

                2. The level child quality according to the standards of department of local administration was at a high level in overall and in each aspect. When average mean of each aspect was considered, the aspect with the highest mean was children’s aesthetic and habits on arts, music and movement. The other aspects with lower means, ranked in descending order of their means, were children’s good hygiene habits with good physical and mental health, and children’s knowledge and skills required in curriculum.

                3. Administrative procedure and administrative factors were the factors of child development center affecting the quality of children according to the standards of Department of Local Administration, with the predictive efficiency at 34%.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ