การศึกษาความสัมพันธ์ของความภาคภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัว ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความภาคภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 5 ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 9,837 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane (1973) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ความคลาดเคลื่อน ±5% สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลความภาคภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลความภาคภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson product-moment correlation coefficient)การวิเคราะห์เปรียบเทียบความภาคภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำแนกตามเพศ และชั้นปี โดยผู้วิจัยตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ข้อมูล จากนั้นจึงวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วย One way Multivariate Analysis of Variance : MANOVA) ทดสอบรายคู่ใช้สถิติ LSD (Least Significant Different)
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความภาคภูมิใจในตนเอง และความหยุ่นตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรีอยู่ในระดับมาก การเปรียบเทียบความแตกต่างพบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรีจำแนกตามเพศ มีความภาคภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เปรียบเทียบตามระดับชั้นปี พบว่า นักศึกษาระดับชั้นปีต่างกันมีความภาคภูมิใจและความหยุ่นตัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความภาคภูมิใจในตนเอง มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางกับความหยุ่นตัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คิดเป็นร้อยละ 35.76
The purposes of this study were to study self-esteem and resilience of Rajabhatrajanagarindra University Students. The tools used in this research, A measure of self-esteem and resilience of Undergraduates. The researchers created The Sample data Undergraduate students in Year 1 to Year 5 of Rajabhatrajanagarindra University Students in the 2nd semester of the academic year 2558 sampling by the formula Yamane (1973) of 400 people from a population of 9837 people, the statistics used in this study to analyze gender and level of self-esteem and resilience of Undergraduates. Analyzing the correlation of Pearson (Pearson product-moment correlation coefficient) analysis compared the self-esteem and resilience of undergraduate students. The researchers examined the preliminary agreement of the data analysis. Then analyzed by analysis of variance with One way Multivariate Analysis of Variance: MANOVA, test pair statistics LSD (Least Significant Different).
The research findings were as follows:
The level of self-esteem and the resilience of Rajabhatrajanagarindra University Students, At a high level A comparison of the differences found. Undergraduate students by gender is yielding the difference is statistically significant at the .01 level. Comparison according to the years that students between years as a proud and yielding a difference there. Statistically significant at the .01 level. self-esteem and resilience relationship between moderate. The level of statistical significance. 01, representing 35.76 percent.