รูปแบบการบริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดซิกซ์ ซิกม่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

นฤมล แจ้งกิจ
ศักดา สถาพรวจนา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาสภาพความเป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ ของการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดซิกซ์ ซิกม่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดซิกซ์ ซิกม่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย  ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาสภาพความเป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ ของการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จากการสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษาและรองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 380 คน ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบซิกซ์ ซิกม่า จากการสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และขั้นตอนที่ 4 แก้ไขปรับปรุงและพัฒนาเป็นรูปแบบฉบับสมบูรณ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

           ผลการวิจัย พบว่า

           การบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามีสภาพความเป็นจริงแตกต่างจากสภาพที่พึงประสงค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้านและทุกรายการ

   

          The purposes of this study were : (1) to study the real state and the desirable state of the school administration under Primary  Educational Service Area Office, (2) to develop the school administration model according to Six sigma management under Primary  Educational Service Area Office , and (3) to evaluate the model of  school administration according to Six sigma management under Primary  Educational Service Area Office.

          The study consisted of four steps. First, review literature to develop a conceptual framework. Second, study the real state and the desirable state of the school administration under Primary Educational Service Area Office by asking 380 school principal and school principal assistants. Third, develop the school administration model according to Six sigma management by a focus group with 9 educational professionals. Finally, adjust and develop the complete model to which was evaluated and certified .

          The result were : the real state of school administration under Primary  Educational Service Area Office was statistically significant different from the desirable state at the 0.05 level in overall and each aspect.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ