การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

น้ำทิพย์ วิมูลชาติ
มาเรียม นิลพันธุ์

Abstract

           การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  3) ทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น 4) ประเมินและปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์  4.1) ประเมินความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น 4.2) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแม่พระประจักษ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวนนักเรียน 33 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ และ แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

           ผลการวิจัยพบว่า

               1. ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องการให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์

               2. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพ 84.91/84.24  

               3. นักเรียนทำโครงงานตามความถนัดและความสนใจโดยการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม นักเรียนมีความสุขในการเรียนและคิดว่าการเรียนเรื่องเรขาคณิตเป็นเรื่องที่ตนเองพบเห็นอยู่ในชีวิตประจำวันทำให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เรียนเข้ากับชีวิตประจำวันของตนเองได้

               4. ความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับดี และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์อยู่ในระดับพึงพอใจมาก

 

           The purposes of  this research  were to: 1) study fundamental and needs to develop learning activities project by using local information to enhance mathematic project abilities,  2) develop and determine the efficiency of learning activities project by using local information plans to assess efficiency criterion of 80/80, 3) implement the learning activities project by using local information, 4) evaluate and improve the learning activities project by using local information to enhance mathematic project abilities, 4.1) evaluate the mathematic project abilities by using local information and 4.2) evaluate students’ satisfaction after learning activities project by using local information. The samples comprised 33 fifth grade students at Maephraprajak School during the first semester of the academic year 2015 by using simple random sampling. Research instruments consisted of structured interview form, learning activities project by using local information plans, mathematic abilities project evaluation form, and student’s satisfaction evaluation form. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and content analysis.

           The results were as follows:

              1) Stakeholders need learning activities project by using local information to enhance mathematic project abilities.

              2) The effectiveness of learning activity project plans by using local information to enhance mathematic project abilities was 84.91/84.24.

              3) The students made the project depend on their aptitude and interest using by group work. They had happiness. They think geometry could be found in their life and could be applied the knowledge for daily life.

               4) The mathematic project abilities of students were at a good level. The students’ satisfaction toward learning activities project by using local information to enhance mathematic project abilities was at a high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ