การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ

Main Article Content

ปนัดดา ใจสุทธิ์

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนวรรณคดีไทยที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค จิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยาที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558  จำนวน  35 คน

         เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ̅x)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน(t-test dependent)และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content  analysis)

          ผลการวิจัย พบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

          The purpose of this research were to: 1) compare Thai literature achievement of mathayomsuksa 3 students before and after being taught by cooperative learning based on jigsaw 2 and six thinking hats technique 2) study the students’ opinions towards cooperative learning based on jigsaw 2 and six thinking hats technique. The sample of the research were 35 mathayomsuksa 3 students of Watraikhingwittaya school in the second  semester of the academic year 2015.

          The  research instruments were lesson plans, pre and post achievement tests, and questionnaires on students’ opinions towards cooperative learning based on jigsaw 2 and six thinking hats technique. The data were analyzed by mean,  standard deviation, and t-test dependent

          The results of this research were as follows: The thai literature achievement of mathayomsuksa 3 students after being taught by cooperative learning based on jigsaw 2 and six thinking hats technique were higher than the before being taught by cooperative learning based on jigsaw 2 and six thinking hats. The score were significantly at the 0.01 level and the opinions of mathayomsuksa 3 students towards cooperative learning based on jigsaw 2 and six thinking hats technique were highest level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ