การศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี ของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวสมองเป็นฐาน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการเรียนรู้ตามแนวสมองเป็นฐาน และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวสมองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2558 จำนวน 33 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้เวลาในการทดลอง 15 คาบ คาบละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามแนวสมองเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวสมองเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ̅x) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าสถิติที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t – test dependent)
ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ด้านการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานีของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวสมองเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวสมองเป็นฐาน มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านผู้สอนมีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยสูงสุด
The purposes of this research were : to study of Kabyanee writing achievement of Prathomsuksa 5 students before and after using Brain-Based Learning (BBL) approach and to study the students’ attitudes toward Brain-Based Learning. The samples are 33 Prathomsuksa 5 students of the Demonstration School of Silpakorn University (Early Childhood & Elementaty), as the result of the simple random sampling. The research demonstrated for 15 periods 50 minutes per 1 period. The instruments used for gathering data were comprised of : 1) the lesson plans of Kabyanee writing by using Brain-Based Learning approach 2) an Kabyanee writing achievement test, used as a pretest and posttest and 3) a questionnaire on the students’ opinions of Brain-Based Learning. The collected data were analyzed by mean (), standard deviation (S.D.) and t-test dependent.
The result revealed that the students’ Kabyanee writing achievement after using brain-based learning approach was higher than before using the brain-based learning approach at the level of .01 and the students had the opinions toward brain-based learning approach mean at the high level and the highest is about teacher.