การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสารคดี โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอเขาย้อย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

รุ่งทิวา สิงห์เทียน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสารคดีโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอเขาย้อย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนสารคดีของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสารคดีโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอเขาย้อย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสารคดีโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอเขาย้อย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเขาย้อยวิทยา อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558  จำนวน 33 คน ใช้เวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ รวมทั้งสิ้น 8 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสารคดีโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอเขาย้อย 2) แผนการจัดการเรียนรู้ใช้ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสารคดีโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอเขาย้อย 3) แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนสารคดี และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสารคดีโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอเขาย้อย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ̅x) , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน(dependent samples  t-test)

            ผลการวิจัยพบว่า

            1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสารคดีโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอเขาย้อยมีค่าเท่ากับ 75.21/75.33

            2. ทักษะการเขียนสารคดีของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยแบบฝึก เสริมทักษะการเขียนสารคดีโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอเขาย้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

               3. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสารคดีโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอเขาย้อย อยู่ในระดับมาก

 

         The purposes of this research were  to 1) develop the non-fiction writing exercises using Khaoyoi local information for Matthayomsueksa 5  2) compare the students’  non-fiction writing skill before and after using the non-fiction writing exercises using Khaoyoi local information for Matthayomsueksa 5 students, and 3) study the students’ opinions  toward  the non-fiction writing exercises using Khaoyoi local information for Matthayomsueksa 5 students. The sample consisted of 33 students from Matthayomsueksa 5/1, semester 2 in Academic year 2015 at Khaoyoiwittaya school, Phetchaburi. The experiment was taken for 4 weeks, 2 times a week, total 8 times. The instruments used for the research were: 1) the non-fiction writing exercises using Khaoyoi local information  2) lesson  plans using with the non-fiction writing exercises using  Khaoyoi local information 3)  the non-fiction writing competency test and 4) a questionnaire used to study students’ opinion on the non-fiction writing exercises using  Khaoyoi  local  information. The data were analyzed by mean ( ̅x), standard deviation (S.D.) and dependent samples t-test.

             The results showed that:

             1) The efficiency of non-fiction writing exercises using Khaoyoi local information was 75.21/75.33 

             2) The students’ non-fiction writing skill after using the non-fiction writing exercises using Khaoyoi local information was significantly higher than before using the exercises  at 0.05

             3) The students’opinions toward using the non-fiction writing exercises using Khaoyoi local information were at high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ