การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง อักษรนำ และทักษะการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 โดยใช้การสอนแนวสมดุลภาษา

Main Article Content

วิภาพร คุปติเกษม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง อักษรนำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสอนแนวสมดุลภาษา 2) ศึกษาทักษะการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างเรียน โดยใช้การสอนแนวสมดุลภาษา และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสอนแนวสมดุลภาษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนวัดทัพหมัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต2 จังหวัดอุทัยธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 35 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Stratified Random Sampling) มีแบบแผนการทดลองเป็นแบบหนึ่งกลุ่ม สอบก่อนและสอบหลัง  (One–Group Pretest – Posttest Design) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การสอนแนวสมดุลภาษา 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้เรื่อง อักษรนำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) แบบประเมินทักษะการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การสอนแนวสมดุลภาษา และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแนวสมดุลภาษาการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ̅x) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test แบบ dependent

           ผลการวิจัยพบว่า

           1)  ผลการเรียนรู้ เรื่อง อักษรนำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสอนแนวสมดุลภาษาสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

           2) ทักษะการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสอนแนวสมดุลภาษาพัฒนาสูงขึ้น

           3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสอนแนวสมดุลภาษาเห็นด้วยในระดับมาก ( ̅x = 2.87 , S.D.= 0.34) นักเรียนมีความสุข ชอบกิจกรรมการสอนแนวสมดุลภาษา และต้องการให้เพิ่มเนื้อเรื่องในสมุดนิทาน

 

           The purposes of this research were 1) to compare learning outcome on the topic, “Leading consonant” for the first grade student by using balanced literacy approach before and after; 2) to study the first grade student’s communication skills while using balanced literacy approach and, 3) to study the opinion of the first grade student on learning by using balanced literacy approach. The research sample were 35 the first grade students who were studying in the second semester academic year 2015 at Thupman School, Uthaithani Primary Eduactional Service Area Office two. Thirty-five students were stratified random selected. For 6 weeks, 5 periods per week were used totaling 30 periods.

           The instruments of this research were : 1) the lesson plans by using balanced literacy approach 2) learning outcome test 3) evaluation form of communication skills and 4) questionnaire measuring student’s opinion on learning by using balanced literacy approach. The data were analyzed by percentage (%), mean ( ̅x),standard deviation (S.D.) and t-test dependent.

            The research findings were as follows :

               1)  The learning outcome on “Leading consonant” of the first grade students after using balanced literacy approach higher than before had a statistically significant at the level of  .05

               2)  The development of the first grade’s communication skills after using balanced literacy approach were gradually increased in each lesson plan.

               3)  The students opinions toward balanced literacy approach of the first grade student were at a high agreement level.( ̅x = 2.87 , S.D.= 0.34)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ