การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสุขภาวะชุมชน

Main Article Content

สมรทิพย์ วิภาวนิช
นรินทร์ สังข์รักษา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการดำเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสุขภาวะชุมชน 3) ทดลองใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสุขภาวะชุมชน และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสุขภาวะชุมชน การวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้ และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลและปรับปรุง ในขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่าง จำนวน 367 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 2 ชุมชน ขั้นตอนที่ 3 ตัวอย่าง จำนวน 20 คน โดยเลือกแบบเจาะจง และขั้นตอนที่ 4 ตัวอย่าง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

           ผลการวิจัย พบว่า

           1. การสร้างเสริมสุขภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสังคมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านพฤติกรรมสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และจากการศึกษาข้อมูล เชิงคุณภาพ จำนวน 2 ชุมชน พบว่า มีการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนในชุมชน ทั้งปัญหาด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสังคม ด้านพฤติกรรมสุขภาพ และด้านการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ

           2. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสุขภาวะชุมชนได้รูปแบบชื่อว่า “SMART Model” ซึ่งผ่านการรับรองแล้ว

           3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสุขภาวะชุมชนกับกลุ่มทดลอง พบว่า ผลการทดสอบความรู้ สอบถามเจตคติต่อการสร้างเสริมสุขภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการสร้างเสริมสุขภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

           4. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีต่อรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสุขภาวะชุมชนในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และจากการถอดบทเรียน พบว่า มีความก้าวหน้าในการดำเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งทางด้านพฤติกรรมสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

 

          The purposes this research were to: 1) explore the basic data on health promotion based on the philosophy of sufficiency economy, 2) develop the health promotion model based on the philosophy of sufficiency economy for community well-being, 3) experiment the health promotion model based on the philosophy of sufficiency economy for community well-being; and 4) assess and improve the health promotion model based on the philosophy of sufficiency economy for community well-being. Four stages of this research were to: 1) examine the basic data, 2) design and develop the research tools, 3) experiment the research tools and 4) assess and improve the model of health promotion based on the philosophy of sufficiency economy. In stage 1, the quantitative research was conducted with a sample of 367 persons who were chosen by means of the stratified random sampling method, while 2 communities were chosen using the purposive selection method according to the specified criteria besides. In stage 3, the purposive selection method was used in choosing a sample of 20 persons. There was a sample of 20 persons in stage 4. The research tools included the test, questionnaire, in-depth interview and focus group discussion. The statistics were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test.

           The results of this research were as follows:

            1. In the overall findings, the sample mean on the social aspect of health promotion based on the philosophy of sufficiency economy was found at the highest level. Meanwhile, health behavior, economy, health promotion participation, environment and natural resources were the aspects with a high level. Additionally, the qualitative study conducted in 2 communities revealed that the philosophy of sufficiency economy had been applied in their way of life for solving the problems that affect the health conditions of people in the communities such as the problems of economy, environment and natural resources, society, health behavior and health promotion participation.

             2. The health promotion model based on the philosophy of sufficiency economy for community well-being was developed and named “SMART Model”. It had already been verified.

             3. The health promotion model based on the philosophy of sufficiency economy for community well-being had been experimented with the sample. It was found that the post-test knowledge, attitude and health promotion based on the philosophy of sufficiency economy were higher than pre-test ones the statistical significance at .01 level.    

             4. The participant’s overall satisfaction with all aspects of health promotion model based on the philosophy of sufficiency economy for community well-being was at the highest level. According to the lessons learned from this research, the progress of health promotion based on the philosophy of sufficiency economy in the aspects of health behavior, economy, society, environment and natural resources was found.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ