โครงสร้างการสื่อสารและปฏิบัติการแบบประคับประคองของจิตอาสาข้างเตียง กับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดเชื้อเรื้อรังระยะสุดท้าย

Main Article Content

สวรรณกมล จันทรมะโน
พิทักษ์ ศิริวงศ์
ไพโรจน์ วิไลนุช

Abstract

         งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิทยาการวิเคราะห์การสนทนา เพื่อศึกษาว่าจิตอาสาที่ผ่านการอบรมจากเครือข่ายพุทธิกาเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม และ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดเชื้อเรื้อรังระยะสุดท้าย (NCDs) สนทนาเรื่องแนวทางการรับมือกับการจากไปของผู้ป่วยในการดูแลอย่างไร การใช้วิธีวิทยานี้ทำให้เห็นกระบวนการต่อรองทางความหมายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งแตกต่างจากงานวิจัยอื่นที่มักนำเสนอเพียงคำบอกเล่าหรือความคิดเห็น วิธีวิทยานี้ใช้เวลา 2 เดือนในการเข้าเก็บข้อมูลที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ด้วยการบันทึกวีดิทัศน์การสนทนาระหว่างจิตอาสาและญาติผู้ดูแลรวมจำนวน 10 กรณีศึกษา และงานวิจัยนี้ยังเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตและสัมภาษณ์ระดับลึก สรุปผลการวิจัยพบว่า

          1. โครงสร้างการสนทนาในเรื่องแนวทางการรับมือกับการจากไปของผู้ป่วยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การเปิดประเด็น การทดสอบการรับรู้เรื่องโรคของผู้ป่วยและการดำเนินโรค การให้คำแนะนำ และการยุติหรือออกจากบริบทเรื่องการรับมือกับการจากไปของผู้ป่วย

          2. การดูแลผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลในสถานการณ์จริง จิตอาสาใช้เทคนิคและภาคปฏิบัติด้านการสื่อสารที่เห็นได้อย่างเด่นชัดจำนวน 4 ข้อ คือ เทคนิคการสร้างสภาพแวดล้อมการปฏิสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นในมุมมองของคู่สนทนา เทคนิคการใช้คำถามโดยใช้คำว่าสมมติ เทคนิคการใช้คำเลี่ยงคำที่ไม่สุภาพโดยใช้ศัพท์หรือภาษาที่นุ่มนวล และเทคนิคการอ้างอิงบุคคลที่ 3

          3. จิตอาสาใช้ทฤษฎีสัมพันธภาพเพื่อการเยียวยาในการดูแลผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลในสถานการณ์จริง ทั้งการใช้คำถาม การให้คำปรึกษาตามกรอบการช่วยเหลือ การฟังอย่างลึกซึ้ง และการสัมผัส

 

          This study applied conversation analysis to exploring how volunteers who have been trained by the Buddhika Network for Buddhism and Society talk with the caregivers of end-stage patients who have chronic non-communicable diseases (NCDs) about ways to handle the departure of patients in their care. The application of this methodology revealed the process of meaning negotiation which occurs naturally, making this research different from others, which usually presented only narrations or opinions. It took two months for data collection for this research at Mae Rim district, Chiang Mai province, by videotape recording of conversations between the volunteers and caregivers, totaling 10 cases. In addition, data collection was also carried out by observation and in-depth interviews. The research outcomes were as follows:

           1)   The structure of conversation about ways to cope with the departure of a patient comprises four stages: raising an issue, assessing the awareness of the patient’s illness and giving advice, and ending the conversation or exit from the context of practices to cope with the patient's death.

           2)   In taking of patients and caregivers in a real situation, the volunteers used four communication techniques and practices: auspicious interactional environment, hypothetical questioning, euphemism, and referring to a third party.

           3)   Volunteers applied the theory of relativity for the remedy to care of the patients and caregivers in a real situation, which involves the use of questions, consultation (under their assistance framework), attentive listening, and touching.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ