การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียรูปแบบการ์ตูน วิชา ดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สุจิตรัตน์ ทิพย์ธารัตน์
เอกนฤน บางท่าไม้

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียรูปแบบการ์ตูน วิชา ดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียรูปแบบการ์ตูน วิชา ดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียรูปแบบการ์ตูน วิชา ดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ จำนวน 30 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียรูปแบบการ์ตูน วิชา ดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) บทเรียนมัลติมีเดียรูปแบบการ์ตูน วิชา ดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนมัลติมีเดียรูปแบบการ์ตูน วิชา ดนตรี 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ̅x ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples

          ผลการวิจัย พบว่า

             1) การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียรูปแบบการ์ตูน วิชา ดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ เท่ากับ 89.00/87.00

             2) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียรูปแบบการ์ตูน วิชา ดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

             3) ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียรูปแบบการ์ตูน วิชา ดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.45)

 

          The purposes of this research were: 1) To development the multimedia instruction by cartoon in music subject for Prathomsuksa 1 students in the order to efficiency according to 80/80 criteria. 2) To compare the students learning progress before and after using the multimedia instruction by cartoon in music subject and 3) To study the students satisfaction toward the multimedia instruction by cartoon in music subject. The sample consisted of 30 students of Prathomsuksa 1 during the academic year 2015 of Samakompamaihaengpratedthaiutid school.

          The instruments of this research were: 1) A structure interview 2) A lesson plan of the multimedia instruction by cartoon in music subject for Prathomsuksa 1 students 3) The multimedia instruction by cartoon in music subject for Prathomsuksa 1 students 4) Quality assessment form of the multimedia instruction by cartoon in music subject 5) The achievement test 6) The students satisfaction questionnaire. The data analysis were percentage (%), mean ( ̅x), standard deviation (S.D.) and t-test Dependent Samples.

          The results of this research were as follows:

             1) The multimedia instruction by cartoon in music subject for Prathomsuksa 1 students was efficiency 89/87.00

             2) Learning achievement of Prathomsuksa 1 students by using multimedia instruction by cartoon in music subject post-test higher than pre-test with statistically significant difference at 0.05 levels.

             3) The participated students satisfaction towards the multimedia instruction by cartoon in music subject were at a high level ( ̅x = 2.94, S.D.= 1.45)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ