การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการสอนอ่านและวินิจฉัยการอ่าน สำหรับครูระดับประถมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

มธุรส ประภาจันทร์
มารุต พัฒผล
วิชัย วงษ์ใหญ่
โชติมา หนูพริก

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการสอนอ่านและวินิจฉัยการอ่านสำหรับครูระดับประถมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการสอนอ่านและวินิจฉัยการอ่านสำหรับครูระดับประถมศึกษาตอนต้น

          วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่

             ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการประเมินเพื่อวินิจฉัยการอ่านภาษาไทยของครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาตอนต้น โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาต้อนต้น (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -3) ที่มีประสบการณ์การสอนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ระดับชั้นละ 2 คน รวมจำนวน 6 คน 3) ศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการสอนอ่านภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาตอนต้นด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบเรียนภาษาไทย และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสอนอ่านภาษาไทย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถาบันภาษาไทย ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญภาษาไทย และครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในด้านการสอนอ่าน 5 ปี ขึ้นไป ซึ่งเป็นครูเชี่ยวชาญและครูต้นแบบของสมาคมภาษาไทยแห่งประเทศไทย รวมจำนวน 5 คน

             ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฉบับร่าง การประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญ และการทดลองนำร่องใช้หลักสูตรกับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่มิใช่กลุ่มเป้าหมายระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ประถมศึกษาปีที่ 1-3) ระดับชั้นละ 1 คน รวมจำนวน 3 คน และทำ Feedback

Workshop ร่วมกับครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมและผู้เรียนในชั้นเรียน พบว่าหลักสูตรฝึกอบรมมีความเป็นไปได้ในการนำไปสู่การปฏิบัติกับสถานการณ์จริง ไม่มีปัญหาและอุปสรรคใด ๆ จากการนำหลักสูตรไปใช้

              ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการสอนอ่านและวินิจฉัยการอ่านสำหรับครูระดับประถมศึกษาตอนต้นกับครูที่เป็นกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น(ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3) ระดับชั้นละ 1 คน จาก 2 โรงเรียน รวมจำนวน 6 คน โดยใช้กระบวนการฝึกอบรม REAR 4 ขั้นตอน ในทุกหน่วยการเรียนรู้

              ขั้นตอนที่ 4 การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร และปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความสามารถในการสอนอ่านภาษาไทย โดยกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนชนิด Analytic scoring rubrics วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) แบบประเมินความสามารถในการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทย กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนชนิด Analytic scoring rubrics วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนอ่านและวินิจฉัยการอ่านภาษาไทย มีลักษณะเป็นแบบบันทึกและแบบตรวจสอบรายการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา และ 4) แบบสัมภาษณ์ผู้เข้ารับการฝึกอบรมและผู้เรียน มีลักษณะเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 5) แบบบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้สำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีลักษณะเป็นแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

            การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย

             1. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการรวบรวมจากแบบสังเกตพฤติกรรมการสอนอ่านและวินิจฉัยการอ่านภาษาไทย แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เข้ารับการฝึกอบรมและผู้เรียน และแบบบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้สำหรับผู้เข้ารับการอบรม นำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)

             2. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

      ผลการวิจัยพบว่า

        1. หลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการสอนอ่านและวินิจฉัยการอ่านสำหรับครูระดับประถมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 1) หลักการของหลักสูตร 2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 3) เนื้อหาสาระของหลักสูตร ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ ใช้ระยะเวลาจำนวน 39 ชั่วโมง ได้แก่ หน่วยที่ 1 การอ่านเป็นเส้นทางดำเนินชีวิต หน่วยที่ 2 จินตนาการ ความรู้ ความคิด จากการอ่าน หน่วยที่ 3 สอนและวินิจฉัยการอ่านสู่ความยั่งยืน หน่วยที่ 4 อ่านได้ วินิจฉัยเป็น และหน่วยที่ 5  กระจกสะท้อนการอ่าน 4) กระบวนการฝึกอบรม 5) กิจกรรมการฝึกอบรม 6) สื่อการฝึกอบรม และ7) การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรม

        2. การตรวจสอบประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรม โดยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนและหลังใช้หลักสูตรฝึกอบรมกับกลุ่มเป้าหมายมาตรวจสอบกับเกณฑ์ประสิทธิผลของหลักสูตร พบว่าหลักสูตรฝึกอบรมมีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้ 1) ครูที่ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรมีความสามารถในการสอนอ่านภาษาไทยหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม 2) ครูที่ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรมีความสามารถในการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทยหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม 3) ครูที่ได้รับการฝึกอบรมมีพัฒนาการด้านความสามารถในการสอนอ่านภาษาไทยก่อน ระหว่าง และหลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสูงขึ้น และ 4) ครูที่ได้รับการฝึกอบรมมีพัฒนาการด้านความสามารถในการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทย ก่อน ระหว่าง และหลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสูงขึ้น

 

        The purpose of this research were 1) to develop A Training Curriculum to Enhance Reading Instruction Competence and Reading Diagnostics for Lower Primary Teachers. 2) to evaluate effectiveness of A Training Curriculum to Enhance Reading Instruction Competence and Reading Diagnostics for Lower Primary Teachers. The processes of the research were conducted under a research and development consisted of four stages as follows:

          Stage1: Study Fundamental data. This stage were operated into 3 steps: 1) Studying concept and relevant literature by analyzing and synthesizing the documents and researches of the Reading Instruction Competence and Reading Diagnostics. 2) In-depth interviewing the opinion of the 6 Thai Lower Primary teaches who were at least 5-year teaching experiences to verify their Reading Diagnostics skills development needs. 3) Studying the Reading Instruction Competence Techniques by analysis 2 famous Thai reading instruction Handbook and in-depth interview the opinion from the 5 experts comprising of the Thai Institute Director under OBEC , 2 Thai supervisors and 2 Thai teachers who experts in Thai Reading Instruction.

           Stage 2: Develop the draft of A Training Curriculum to Enhance Reading Instruction Competence and Reading Diagnostics for Lower Primary Teachers. Inspect the quality of A training curriculum and inspect the effectiveness by pilot study with the 3 Thai Lower Primary teachers, then, set Feedback Workshop with the stakeholders both teachers and learners

           Stage 3: Implement A Training Curriculum to Enhance Reading Instruction Competence and Reading Diagnostics for Lower Primary Teachers to the 6 Thai Lower Primary teachers from 2 schools in term of outreach program (3 person per each school) were selected by purposive sampling.

           Stage 4: Evaluate and Develop A Training Curriculum to Enhance Reading Instruction Competence and Reading Diagnostics for Lower Primary Teachers.

       The Instruments of this research consisted of 1) Reading Instruction Competence Evaluating Form with Analytic Scoring Rubrics 2) Reading Diagnostics Competence Evaluating Form with Analytic Scoring Rubrics 3) Reading Instruction Competence and Reading Diagnostics Behavioral Observation Form with checklist and field note 4) Semi-Construction Interview Form for teachers and students 5) Lesson learned Form for teachers. Statistics for analysis data were Mean, Standard Deviation, Content Analysis and Descriptive Analysis.

        The findings of this research revealed that

         1) A Training Curriculum to Enhance Reading Instruction Competence and Reading Diagnostics for Lower Primary Teachers comprising of 1) Principles 2) Purposes 3) Contents within 5 units 39 hours 4) Training Process 5) Training Activity 6) Training Material and 7) Evaluation

         2) A Training Curriculum to Enhance Reading Instruction Competence and Reading Diagnostics for Lower Primary Teachers obtaining the effectiveness given according to criteria:

             2.1) After training, All teachers from 2 schools earned higher score of Reading Instruction Competence.

             2.2) After training, All teachers from 2 schools earned higher score of Reading Diagnostics Competence.

             2.3) All teachers from 2 schools earned gradually higher score of Reading Instruction Competence at the end of each training unit, respectively.

             2.4) All teachers from 2 schools earned gradually higher score of Reading Diagnostics Competence at the end of each training unit, respectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ