ความสัมพันธ์ของกิจกรรมไคเซ็นแบบกลุ่มควบคุมคุณภาพ กับจำนวนผลผลิต,จำนวนของเสีย และ ทัศนคติการทำงานเป็นทีม : กรณีศึกษา บริษัท ทียูดับบลิว เท็กซ์ไทล์ จำกัด

Main Article Content

สุทัศน์ เมืองมนประเสริฐ
กฤษฎา พรประภา

Abstract

           งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประโยชน์ของกิจกรรมไคเซ็นแบบกลุ่มควบคุมคุณภาพ(QC Circle : QCC) ที่มีต่อประสิทธิภาพการผลิตทั้งด้านจำนวนผลผลิตและจำนวนของเสีย (สินค้ามีตำหนิ) 2) เพื่อศึกษาประโยชน์ของกิจกรรมไคเซ็นแบบกลุ่มควบคุมคุณภาพที่มีต่อทัศนคติความผูกพันต่อทีม โดยการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ใช้การเปรียบเทียบข้อมูลผลผลิตและจำนวนของเสียของบริษัท ทียูดับบลิว เท็กซ์ไทล์ จำกัด ในช่วงก่อนและหลังการทำกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ และส่วนที่ 2 ใช้แบบสอบถามศึกษาทัศนคติความผูกพันต่อทีม กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานผู้ปฏิบัติงานในโรงงานเย็บ บริษัท ทียูดับบลิว เท็กซ์ไทล์ จำกัด ระดับพนักงานทั่วไป (operator) ถึง ระดับหัวหน้างาน (supervisor) จำนวน 248 คน ที่อยู่ในช่วงอายุ 18–55 ปี ความน่าเชื่อถือของเครื่องมือครอนบัคมีค่า 0.881 วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายผลการศึกษา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมไคเซ็นแบบกลุ่มควบคุมคุณภาพ ต่อทัศนคติความผูกพันต่อทีมโดยใช้ Pearson Correlation ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ประมวลผลข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ

           ผลการวิจัย ส่วนที่ 1 การศึกษาด้านประสิทธิภาพการผลิต เปรียบเทียบข้อมูลก่อนทำกิจกรรมคือเดือนมกราคม ถึงพฤษภาคม 2558 และหลังทำกิจกรรมคือเดือนมกราคม ถึงพฤษภาคม 2559 พบว่า รายได้โรงงานต่อคนจำนวนผลผลิตต่อคน และอัตราการทำได้ตามเป้าหมายการผลิต (%) โดยเฉลี่ย สูงกว่าช่วงก่อนทำกิจกรรม ในขณะที่ อัตราการเกิดของเสียในไลน์การผลิต (%) โดยเฉลี่ย ลดลงกว่าช่วงก่อนทำกิจกรรม ส่วนที่ 2 การศึกษาด้านทัศนคติโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 40 ปีขึ้นไป อายุงาน 6-10 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา 2) กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติความผูกพันต่อทีมในระดับสูง มีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มในระดับสูง และพบว่า “การมีส่วนร่วมในด้านการค้นหาปัญหาจากการทำงานและสาเหตุของปัญหา” มีความสัมพันธ์กับ “ทัศนคติความผูกพันต่อทีมด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเททำงานเพื่อเป้าหมายขององค์กร” และ “ด้านความต้องการจะรักษาสมาชิกภาพของตนในทีมงาน” ในขณะที่ “การมีส่วนร่วมในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาวิธีแก้ไข” มีความสัมพันธ์กับ “ทัศนคติความผูกพันต่อทีมด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเททำงานเพื่อเป้าหมายขององค์กร”.

 

           The objectives of this study were 1) to study the benefits of Kaizen activity by Quality Control Circle (QCC) to the efficiency of production on both productivity and number of defect. (Defective Goods) 2) to study the benefits of Kaizen activity by Quality Control Circle (QCC) to attitude of teamwork 3) to study the level of worker’s understanding about Kaizen by dividing into 2 parts: the first part is comparing the productivity and defective goods at T.U.W. Textile Company before and after implementing the QCC activity. Secondly study about attitudes of teamwork and level of their understanding about Kaizen by using questionnaires. The sample consisted of 248 workers who work in sewing section at T.U.W. Textile Company, ranging from operator to supervisor, age between 18-55 years, the Cronbach alpha reliability is 0.881. Analyzed by using descriptive statistics to describe the results of the study verified by frequency distribution, percentage, average and standard deviation. Then testing the relation between “Participation in QCC group activity” and “Attitudes of Teamwork” by using Pearson Correlation at the statistic significant 0.05 level by SPSS.

           Research findings on the 1st part study on efficiency of production comparing data before implement QCC activity during January - May 2015 to after implemented QCC activity on January - May 2016 showed the factory revenue, total output per worker and percentage of achieved production target ratio(%) in average are increasing during the period of implementing QCC activity. While the rate of defective goods found in production line (%) by average lower than the period of preceding QCC activities. Second Parts study about attitude by using questionnaires found 1) the majority of sample were female, age over 40 years old, having 6-10 year work experience with primary education. 2) Sample having an attitude of commitment to the team and participate in group activities at a high level. Also found the relation between “participation in workplace problem searching and cause of problem” with "the attitude of commitment to the team with the willingness to work hard for organization’s goals" and “the need to maintain their membership in the team". While "the engaging in the analyzing to find a solution" have a relation with "the attitude and commitment of teamwork in willingness to work hard for achieve organization’s goals." And 3) the result showed sample have high understanding level about Kaizen.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ