การพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม (STSE) เรื่อง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์เรื่อง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม 2) ศึกษาผลการพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม (STSE) เรื่อง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 จำนวน 43 คน เลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย 1 หนึ่งห้องเรียนเครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมอย่างไม่เป็นทางการ 4) แบบประเมินผลงานนักเรียน และ 5)การบันทึกวีดีโอขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent)ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนสามารถพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องสารประกอบไฮโดรคาร์บอน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)นักเรียนแสดงออกถึงการพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ทุกสมรรถนะ ได้แก่ การระบุประเด็นทางวิทยาศาสตร์ (ISE) การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ (EPS) และสมรรถนะการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ (USE) โดยสมรรถนะการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ (USE) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงที่สุด และการระบุประเด็นทางวิทยาศาสตร์ (ISI) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด
This research aimedto 1)compare theScientific Literacy learning on the Hydrocarbons Compound topic of the Mathayomsuksa 6 students' before and after through Science, Technology, Society, and Environment (STSE) 2) study development of students’s teading Scientific Literacy performance through Science, Technology,Society,and Environment (STSE) learning activities in Hydrocarbons Compound topic. The sample were 43 Mathayomsuksa 6 students in the second semester of 2015 academic year from the Sukhothaiwittayakom school, The Secondary Education Service Area Office 38.They were selected by simple random sampling. The instrument which employed to collect data were: 1) the lesson plans, 2) the tests of scientific literacy ,3) informal observation,4) student artifacts,and 5) video-tapped recorder.The data were analyzed by using average, standard deviation and t-test dependent.The finding were as follows: 1) The students had developed the Scientific Literacy learning about hydrocarbons compound throughout the study. The students’ scores were significantly higher that before teaching at the statistical level of .05. 2) In addition the students’ scientific literacy performance Identifying Scientific Issues, Explain Phenomena Scientifically ,and Using Scientific Evidence were increased. The performance indicator about Using Scientific Evidence was the most increased and the performance indicator about Identifying Scientific Issues was the least increasing.