การพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ วิชาการถ่ายภาพดิจิทัล ที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

สุวัชชัย เผ่าผึ้ง
เอกนฤน บางท่าไม้

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ วิชาการถ่ายภาพดิจิทัล ที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) ศึกษาผลการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ วิชาการถ่ายภาพดิจิทัลที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล จำนวน 28 คน ระยะเวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ โดยมาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง

        เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) ขั้นตอนและกิจกรรมระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ 3) เว็บไซต์ระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ 4) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของทอแรนซ์ 5) แบบประเมินความสร้างสรรค์ของผลงาน 6) แบบสอบถามความคิดเห็น 7) แบบบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ̅x) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าt - test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา

         ผลการวิจัยพบว่า

         1. ระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) แรกเริ่มอย่างสร้างสรรค์ 2) รวบรวมข้อมูล รอบรู้รอบด้าน 3) สั่งสมประสบการณ์ 4) เทคนิควิธีการอย่างมืออาชีพ 5) ฝึกฝน จนชำนาญ 6) สะพายกล้อง ท่องนิทรรศการ 7) ออกแบบสรรค์สร้างผลงาน 8) นำเสนอ / เผยแพร่ผลงาน ซึ่งผลการประเมินขั้นตอนและกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ โดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสม

          2. คะแนนความคิดสร้างสรรค์ ตามการประเมินด้วยแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance พบว่านักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย หลังการเข้าร่วมกิจกรรมในระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ ( ̅x = 75.07, S.D. = 12.61) มากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมในระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ ( ̅x = 62.18, S.D. = 14.73) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3. ผลการวิเคราะห์คะแนนจากแบบประเมินความสร้างสรรค์ของผลงาน พบว่า คุณภาพของผลงานการถ่ายภาพได้รับการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง (  ̅x = 2.09, S.D. = 0.41)

          4. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ พบว่าความคิดเห็นที่มีต่อด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และด้านการนำไปใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( ̅x = 4.24, S.D. = 0.61)

 

          The purposes of this research were to 1) to develop online knowledge sharing system on digital photography course affecting the creative thinking of Undergraduate Students, and 2) to study the effects of the online knowledge sharing system on digital photography course. The sample group was 28 the second-year undergraduate students enrolled in the Digital Photography course in the second semester at the Department of Education Technology, Faculty of Education, Silpakorn University, and spent twelve weeks for experimenting. The purposive sampling method was applied for the sample group.

           The research Instruments were 1) the structured interview, 2) online knowledge sharing process, 3) knowledge sharing in Digital Photography course website,4) Creative Thinking test based on Torrance thinking (TTCT), 5) the creative works evaluation forms, 6) the questionnaire on students’ opinions,and 7) the activities participation forms. The data was analyzed in term of mean ( ̅x ), standard deviation (S.D.), dependent t - test and content analysis.

               The research results were as follow :

               1.  Online knowledge sharing system in Digital Photography course consists of 8 steps : 1) Creative starting, 2) Gather information, 3) Collect experience, 4) Professional 3 techniques, 5) Practice skill, 6) Exhibition tour, 7) Production, and 8) Presenting.

               2.  The samples have a higher creativity score after participating in online knowledge sharing system, and statistical significant at the .05 level.

               3.  The quality of creative works was assessed at a moderate level.

               4.  The opinion of students towards Online knowledge sharing system in Digital Photography course was on a high positive level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ