การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบสวนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบสวนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม 2) ศึกษาพัฒนาการคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบสวนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบสวนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบสวนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/10 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ เขตจอมทอง จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 จำนวน 49 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ซึ่งเป็นลักษณะการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน (One Group Pretest Pottest Design)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย 2) แบบทดสอบวัดคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย 3) แบบประเมินคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบสวนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ̅x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบสวนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. พัฒนาการคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบสวนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม มีพัฒนาการจากระดับปานกลางไปสูง
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบสวนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม สูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบสวนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
The purposes of this research were to: 1) compare the democratic citizenship characteristics of the Mathayomsuksa 1 students before and after the participation in the learning management using group investigation model 2) investigate the growth of democratic citizenship characteristics of the Mathayomsuksa 1 students during the participation in the learning management using group investigation model 3) compare the learning achievement on democratic citizenship of the Mathayomsuksa 1 students before and after using group investigation model and 4) study the opinions of the Mathayomsuksa 1 students toward using group investigation model. The sample of this research consisted of 49 students from Mathayomsuksa 1/10 students studying in the second semester during the academic year 2015 at Mathayomwatsing School, Chomthong District, Bangkok of The Secondary Educational Service Area Office 1, using simple random sampling by taking each classroom as a sampling unit, Experimental Research and One Group Pretest Pottest Design.
The instruments were: 1) lesson plans 2) a democratic citizenship characteristics test 3) an assessment form of democratic citizenship characteristics 4) a learning achievement test and 5) a questionnaire on students’ opinions towards the learning management using group investigation model. The collected data were analyzed by mean (), standard deviation (S.D.), and dependent sample t-test
The findings were as follows:
1. The democratic citizenship characteristics of students after the participation in the learning achievement using group investigation model were significantly higher than before the participation learning at the .05 level.
2. The development of democratic citizenship characteristics of the Mathayomsuksa 1 students during the participation in the learning management using group investigation model had developed from moderate to high level.
3. The learning achievement of students on democratic citizenship after the participation in the learning achievement using group investigation model were significantly higher than the learning achievement before the participation at the .05 level.
4. The opinions of students towards participation in the learning management using group investigation model were at the highest level.