การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา

Main Article Content

วิภู มูลวงค์
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา2) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Pre - Experimental Research) แบบแผนการทดลองแบบ One - Group Pretest – Posttest Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบหาค่าที( t- test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

         ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนและร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กรณีศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี 3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

 

          The purposes of this research were 1) to  compare  eighth  grade  students’ learning  outcomes  on  mathematics  before and  after the instruction with  case – based  learning  2) to study eighth grade students’problem solving abilities during the instruction with case – based  learning  and 3) to study eighth  grade students’ opinion towards  the instruction with case – based learning. This research were pre – experimental research with One Group Pretest – Posttest  Design. The sample were 40 students by simple random sampling, in eighth grade who are studying in the second semester 2015 academic year, The Demonstration School of Silpakorn University in Nakhon Pathom province. The research instruments used for gathering  data were 1) lesson plans were according to index of item objective congruence 1.00 2) learning outcomes on mathematics test were according to index of item objective  congruence between 0.80 - 1.00 3) problem solving abilities on mathematics test were  according  to index of  item objective  congruence 1.00  and  4) questionnaire  on  opinion the  instruction  with case – based learning were according  to index of  item objective  congruence  1.00. The statistical analysis employed  were mean, standard deviation, t–test dependent and content analysis.

          The results were as follow: 1) The learning outcomes of eighth grade students’ on  mathematics after being taught by case – based learning were higher than before the  instruction were  statistically significant at the .05 level. 2) The eighth grade students’ problem solving abilities on mathematics during the instruction with case – based learning  were  good. 3) The opinion of eighth  grade students’ towards  the  instruction  with case – based  learning were  at  a  high  agreement  level

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ