แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจระดับบุคคลของครูอัตราจ้างในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1

Main Article Content

ณัฐวุฒิ ปั้นเหน่งเพชร

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methodology Research) โดยทำการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพลังอำนาจของครูอัตราจ้างในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพลังอำนาจระดับบุคคลของครูอัตราจ้างในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างพลังอำนาจระดับบุคคลของครูอัตราจ้างของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือครูอัตราจ้างในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 จำนวน 222 คน ซึ่งได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ และวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า

               1) ระดับพลังอำนาจครูอัตราจ้าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้น ด้านความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ และด้านการพัฒนาทักษะในการทำงานมีความคิดเห็นในการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง

               2) ครูอัตราจ้างที่มีเพศ อายุ สถานภาพ และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีระดับพลังอำนาจระดับบุคคล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนครูอัตราจ้างที่มีรายได้ วุฒิการศึกษา และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีระดับพลังอำนาจระดับบุคคล ไม่แตกต่างกัน

               3) แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจระดับบุคคล มี 6 แนวทางคือ 1. การพัฒนาด้วยการฝึกอบรม 2. การพัฒนาด้วยการมีส่วนร่วม 3. การพัฒนาด้วยการยอมรับ  4. การพัฒนาด้วยความก้าวหน้าในวิชาชีพ 5.การพัฒนาด้วยการให้อิสระ และ 6. การพัฒนาด้วยการสนับสนุนทรัพยากร

 

           This research study is based on mixed methodologies research by study both qualitative and quantitative methods. The objectives of this research were 1) to study determine the power of temporary teachers in basic education under The Secondary Educational Service Area Office 1 2) to compare personal factors that affected power of the individual temporary teachers in basic education under The Secondary Educational Service Area Office 1 3) to study guidelines to empowered individual temporary teacher in basic education under The Secondary Educational Service Area Office 1.The samples of this research were 222 of temporary teachers in basic education under The Secondary Educational Service Area Office 1 by using Stratified Random Sampling method. The research instruments were interviewing questionnaire and guideline for in-depth interviewing.

            The collected data was statically analyzed with Statistical Computer Program Package and presented in frequency,percentage,mean (), standard deviation (S.D),t-test,F-test and Scheffé multiple comparison techniques. For the qualitative data it would be then analyzed with the technique of content analysis.

            The results of this research were as follows:

               1) The degree of empowerment for temporary teachers are high in overall and also high when considered every aspects accept in responsibility area which can be examine as

               2) Sex, age, marital status and working experience has effects to empower temporary teacher, the difference was statistically significant level 0.05. Incomes, education level and size of workplace do not make a difference in empowering temporary teacher.

               3) Guidelines to empower an individual’s temporary teacher have been developed into 6 guidelines: 1. Developed by training 2. Developed with participation 3. Developed with acceptation 4. Developed in professional advancement 5. Developed by providing an independent and  6. Developed with support resources. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ