การพัฒนาการสอนแบบโครงงาน สำหรับครูประถมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการพัฒนาการสอนแบบโครงงาน สำหรับครูประถมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ครูโรงเรียนบ้านป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการอบรมปฏิบัติการเรื่องการสอนแบบโครงงาน จำนวน 1 ฉบับ 2) แบบติดตามประเมินผลการอบรมปฏิบัติการ สอนแบบโครงงานไปใช้สอนนักเรียน และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อการอบรมปฏิบัติการเรื่องการสอนแบบโครงงาน วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่า ที แบบจับคู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูที่เข้าร่วมโครงการ มีผลการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจหลังการฝึกอบรมสูงกว่าการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ครูที่เข้าร่วมโครงการที่ยังไม่ได้สอนการทำโครงงานและนักเรียนมีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.66 กำลังให้นักเรียนลงมือทำโครงงาน จำนวน 18 คน ร้อยละ 60.00 ครูที่นักเรียนจัดทำเสร็จแล้วกำลังอยู่ในขั้นจัดทำรายงาน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 และครูที่นักเรียนจัดทำเสร็จแล้วทุกขั้นตอน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 และ 3) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการพัฒนาการสอนแบบโครงงาน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ วิทยากรเอาใจใส่และดูแลให้คำปรึกษาการสอนแบบโครงงาน วิทยากรมอบหมายให้ครูทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่มอย่างเป็นอิสระและครูมีความพึงพอใจในการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ โครงงานของวิทยากร ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่นๆ คือ วิทยากรมีตัวอย่างการจัดทำโครงงานที่ครูสามารถนำมาเป็นตัวอย่างได้
The objectives of this study were to presented the result of project based learning development for Primary Teacher, Petchaburi Province. A sample was 30 teachers from Banpadeng School, Kaeng Krachan District,Petchaburi Province. The analyzing tools were1) Pre-test to evaluate the samples’ knowledge and understanding before training project based learning and Post-test after the training was done. 2) Following and evaluation form of teachers after operation training when educate the student by using project based learning and 3) Questionnaire in the view of teachers to project based learning operation training. The data was analyzed by Mean, Stand Deviation, Paired Samples T-Test and content analysis.
The results of this study were at follow: 1) the participant teachers had the score of knowledge and understanding after training higher than before training, statistical significant at 0.01 level. 2) there are 2 participants (represent 6.66%) did not teach the student to do the project, students of 18 participant teachers (represent 60.00%) were getting start the project, students of 5 participant teachers (represent 16.67) were conducting report of their projects and last 5 participant teachers (represent 16.67%), their students completed the projects and 3) The thought of teachers toward project based learning development were in high level, considering by each item, they were also in high level of all items, descending from high mean to low in follow: a lecturer attended and consulted how to use project based learning, the lecturer assigned to work in group independently and teachers were satisfy with learning atmosphere of lecturer’s project respectively. Only the lecturer presented a good project for teachers can be taken to example had mean lower than others.