บทประพันธ์เพลง Tones สำหรับวงคลาริเน็ต

Main Article Content

ยศ วณีสอน

Abstract

         บทประพันธ์เพลง Tones for Clarinet Ensemble เป็นบทประพันธ์เพลงสำหรับวงคลาริเน็ตที่นำหัวข้อการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคนิคการสร้างเสียงของการเล่นคลาริเน็ต ที่มีการนำเทคนิคที่ช่วยการควบคุมเสียงต่าง ๆ เช่น การเป่าปากเป่าของคลาริเน็ต ในระดับเสียงและความเข้มต่าง ๆ และการตระหนักรู้ในเสียงแทรกของระดับเสียงต่าง ๆ  มาเป็นวัตถุดิบทางดนตรีที่ใช้ในการประพันธ์เพลง

        Tones for Clarinet Ensemble แบ่งเป็นสามส่วน ส่วนแรกเป็นการนำเสนอเทคนิคการเป่าปากเป่าของคลาริเน็ตที่ใช้รูปแบบดนตรีเสี่ยงทาย เพื่อจำลองวิธีการเรียนการสอนกลุ่มที่มีหัวหน้ากลุ่มนักคลาริเน็ตเป็นผู้เลือกชุดของระดับเสียงที่สร้างจากปากเป่าของคลาริเน็ต เริ่มจากการการลากเสียงยาวไปจนถึงการไล่ระดับเสียงที่มีช่วงเสียงกว้างขึ้น ส่วนที่สองเป็นการนำเสนอเสียงแทรกในชุดของโน้ตพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อให้นักคลาริเน็ตในวงเกิดความคุ้นเคยกับเสียงแทรกและนำไปใช้ให้ถูกต้องในการสร้างเสียงที่สมบูรณ์ ในช่วงสุดท้ายของบทประพันธ์เพลงเป็นการนำชุดของเสียงแทรกสร้างเป็นคอร์ดใหม่ผนวกเข้ากับการเป่าปากเป่าของคลาริเน็ต ในระดับเสียงต่าง ๆ ที่เน้นการใช้เทคนิคปอร์-ตาเมนโต หรือโน้ตโหยหวนบนปากเป่าของคลาริเน็ต แนวทำนองในช่วงท้ายเพลงประกอบไป ด้วยช่วงเสียงกว้างที่ต้องประยุกต์ใช้เทคนิคการควบคุมเสียงที่นำเสนอในช่วงแรกเพื่อตอบสนองการแสดงความรู้สึกทางดนตรี และเป้าหมายทางดนตรีในบริบทต่าง ๆ ของดนตรี

        จากขั้นตอนการประพันธ์ในส่วนของการทดลองกับกลุ่มนักคลาริเน็ตเพื่อค้นหา และเลือกวัตถุดิบทางดนตรี สำหรับการประพันธ์เพลง ประกอบไปด้วยการเป่าปากเป่าของคลาริเน็ตและการเล่นโน้ตแทรก และรวมไปถึงผลลัพธ์ของการฝึกซ้อมกับวงคลาริเน็ตอองชอมเบิล ทำให้ได้ข้อสรุปได้ว่านักคลาริเน็ตที่ไม่สามารถเล่นโน้ตได้หลายระดับเสียงบนปากเป่าของคลาริเน็ต จะไม่สามารถทำการเชื่อมต่อโน้ตได้นุ่มนวล และไม่สามารถรักษาคุณภาพเสียงหากต้องทำความเข้มเสียงที่แตกต่างกันมาก ในขณะเดียวกันนักคลาริเน็ตที่สามารถเล่นโน้ตได้หลายระดับเสียงในการเป่าปากเป่าของคลาริเน็ต และสามารถเล่นโน้ตแทรกได้ครบถ้วนหรือทราบชุดของโน้ตแทรกของโน้ตพื้นฐานต่างๆ โดยสามารถจดจำเสียงของโน้ตแทรกได้ จะสามารถควบคุมเสียงสูงได้ดี เนื้อเสียงมีมิติครบถ้วน สามารถเล่นเสียงให้ต่อเนื่องได้ในช่วงเสียงกว้าง ๆ ได้ดี การออกเสียงมีความแม่นยำ และสามารถควบคุมเสียงให้เป็นเอกภาพในช่วงความเข้มเสียงที่แตกต่างกัน

 

         Tones for Clarinet Ensemble is a music composition based on a pedagogical subject of sound production on clarinet. Its compositional materials derive from sound controlling techniques, such as, blowing through a mouthpiece in different pitches and various intensities, and realization of overtone series of selected pitches.

         The piece is comprised of three sections. The first part introduces a technique for mouthpiece playing along with a hint of experimental music, which demonstrates a teaching session introduced by the clarinet ensemble leader who would choose a certain pitch played through the mouthpiece. This part begins with a series of long-held notes and gradually progresses into a larger interval. The second part demonstrates overtone series based on selected fundamental tones in order to help the clarinetists of the ensemble to become accustomed to the overtone series and correctly apply this knowledge into their concept of tone production. In the last part both mouthpiece playing and overtone series are uniformly combined. The portamento technique on mouthpiece playing is emphasized. The clarinetists have to cope with a melodic line of expanded range where they have to apply the skill of tone production introduced in the early part to achieve the musical expression and musical goal in different musical contexts.

         As part of the compositional procedure, experimental sessions were held with the clarinetists on the subject of tone production through playing on the mouthpiece, recognizing over tone series, and rehearsing those techniques with the ensemble leading to various results. The clarinetists who could not play as many pitches on the mouthpiece were not be able to connect notes smoothly and to accomplish a good tone quality while playing through an extreme dynamic change. By contrast, those who achieve a wider range in mouthpiece playing and recognized the overtone series well had better control over high notes, full resonant sound, better legato on expanded range, precise tone attack, and evenness of tone in different intensity.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ