การพัฒนาความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเองในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 2) ระดับทักษะการปฏิบัติงานที่สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 3) พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง และ 4) ระดับความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเองในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 470 404 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2547ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2557 จำนวน 24 คน ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำกับตนเอง การกำกับตนเองในการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ และการวัดความคิดสร้างสรรค์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) วัดความคิดสร้างสรรค์ก่อนการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง 3) การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบกำกับตนเองเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์4)วัดความคิดสร้างสรรค์หลังการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง 5) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา 470 404 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโดยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ด้วยแบบทดสอบมาตรฐาน (TCT-DP) ของ Jellen and Urban 3) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานที่สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ เป็นแบบประเมินแบบประมาณค่า 5 ระดับ 4) แบบสำรวจความพึงพอใจที่มีการต่อเรียนรู้เป็นแบบประเมินแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย t-test ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและฐานนิยม
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลของการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเองในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พบว่า คะแนนทดสอบหลังการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเองในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยสูงกว่าก่อนการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยมีนัยทางสถิติที่ ระดับ.05
2) ระดับทักษะการปฏิบัติงานที่สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย อยู่ในระดับมาก โดยด้านความคิดริเริ่มมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านความคิดละเอียดลออ ความคิดคล่องแคล่ว และด้านความคิดยืดหยุ่น ตามลำดับ
3) พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา ที่ได้รับการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเองค่าฐานนิยม ระดับ 1 สองด้าน ได้แก่ ด้านความคิดคล่องแคล่ว และด้านความคิดยืดหยุ่น แปลความหมายของพฤติกรรมการเรียนรู้ได้ว่า พฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดคล่องแคล่ว/ความคิดยืดหยุ่น แต่ยังไม่เด่นชัด ค่าฐานนิยม ระดับ 2 สองด้าน ได้แก่ ด้านความคิดริเริ่ม และด้านความคิดละเอียดลออ แปลความหมายของพฤติกรรมการเรียนรู้ได้ว่า พฤติกรรมที่แสดงออกถึงความคิดริเริ่ม/ความคิดละเอียดลอออย่างเด่นชัด
4) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อคุณภาพด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านการออกแบบและบรรลุภาระงาน และด้านบรรยากาศการเรียนรู้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
The purposes of this research were to study 1) the results of self-regulation learning process approach in creative development of students in Early Childhood Education, 2) skills level of performance that reflects creativity of the students in Early Childhood Education,3) learning behaviors of students in Early Childhood Education by using self- regulation learning process approach and 4) students’ satisfactory level towards Self- regulation learning process approach in the creative development. Population of this research was 24 of fourth year Early Childhood Education students who enrolled in The creative thinking development for Early Childhood Children (470 404) under the Bachelor of Education Program in Early Childhood Education, Department of Curriculum and Instruction, Faculty of Education Silpakorn University Academic Year 2014. The research processes consisted of 1) studying theory and research related to self- regulation, self-regulation learning process approach, creativity and creativity measurement, 2) measurement of creativity before using self- regulation Learning process approach, 3) learning by using self - regulation learning process approach for creative development, 4) measurement of creativity after using self- regulation learning process approach developed by the researcher and 5. students’ satisfaction assessment.
Research instruments consisted of 1) lesson plans of creative thinking development for Early Childhood Children (470 404) by using self- regulation learning process approach, 2) creative thinking assessment form of (TCT-DP) Jellen and Urban, 3) skills performance assessment form (assessment of the level five) and 4) students’ satisfaction assessment form (assessment of the level five).The data were analyze by percentage, means, standard deviation, mode and t-test.
The results of the research were
1) Learning achievement of bachelor degree students in Early Childhood Education by using self-regulation learning process approach higher than pre-test with statistically significant difference at .05 levels,
2) The skills level of performance that reflects the creativity of the students in Early Childhood Education was at a high level. The originality thinking was on the highest average.The second were the elaboration thinking, the fluency thinking and the flexibility thinking, respectively,
3) Learning behaviors of students in Early Childhood Education by using Self- regulation learning process approach model for the first level were the fluency thinking and the flexibility thinking. The second level were The originality thinking and the elaboration thinking and
4) the students’ satisfactory level towards The process of teaching and learning Design, accomplish tasks and good learning environment were at a high to highest level.