การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการ เรื่อง แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และปัญหาสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ

Main Article Content

ธนัท อู๊ดน้อย

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และปัญหาสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ  2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวัดบวรมงคล  เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และปัญหาสังคม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และปัญหาสังคม 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ̅x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

            1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และปัญหาสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            2. ความสามารถในการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

 

          The purposes of this research were to: 1) compare the learning achievement on  the trends of social changes and problems of Matthayomsuksa 4 students before and after the participation in the learning management using faith and yonisomanasikara approach 2) compare the thinking ability based on the principles of yonisomanasikara of Mathayomsuksa 4 students before and after the participation in the learning management using faith and yonisomanasikara approach  and 3) study the opinion of  Mathayomsuksa 4 students about the participation in the learning management using faith and yonisomanasikara approach. The sample of this research consisted of 30 Mathayomsuksa 4/1 students studying in the seconds semester during the academic year 2015 at Watborwornmongkol School, Bangphlat district, Bangkok Province of the Office of Secondary School Distrit 1. The instruments were:  1) lesson plans 2) learning achievement tests 3) thinking ability based on the principles of yonisomanasikara test and 4) a questionnaire on the opinion of students towards the participation in the learning management using  faith and yonisomanasikara approach. The data were analyzed by mean ( ̅x ) standard deviation (S.D.)  t-test for dependent and content analysis

           The finding were as follow:

             1) The learning achievements on the trends of social changes and problems of mathayomsuksa 4 students gained after the participation in the learning management using faith and yonisomanasikara approach were higher than before at the level of .05 significance.

            2) The thinking ability based on the principles of yonisomanasikara of mathayomsuksa 4 students gained after the participation in the learning management using faith and yonisomanasikara approach were higher than before at the level of .05 significance.

            3) The opinions of mathayomsuksa 4 students towards the participation in the learning management using faith and yonisomanasikara approach  had high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ