ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีวินัยทางการเงินของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Main Article Content

ณัฐพร แป้นทองคำ
สุภาสิณี นุ่มเนียม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีวินัยทางการเงินของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขญยงแสน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 411 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 6 ระดับ จำนวน 7 ชุด มีค่าความตรง (IOC) ตั้งแต่ 0.72 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่น (สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค) มีค่าตั้งแต่ .703 - .961 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า

            1.  ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ด้านจิตลักษณะ และด้านสภาพแวดล้อม 5 ตัวแปร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีวินัยทางการเงินของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เรียงตามลำดับค่าความสัมพันธ์ ได้แก่ ทัศนคติที่ดีต่อการมีวินัยทางการเงิน การมีแบบอย่างที่เหมาะสมทางการเงินจากคนรอบข้าง พฤติกรรมแบบบริโภคนิยมลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตนทางการเงิน รายได้ต่อเดือนของนิสิตที่ได้รับจากผู้ปกครอง

            2.  ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ด้านจิตลักษณะ และด้านสภาพแวดล้อม 5 ตัวแปร สามารถทำนายพฤติกรรมการมีวินัยทางการเงินของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ถึง .01 เรียงลำดับตามร้อยละของการทำนาย ได้แก่ ทัศนคติที่ดีต่อการมีวินัยทางการเงิน การมีแบบอย่างที่เหมาะสมจากคนรอบข้าง รายได้เฉลี่ยต่อเดือนจากการทำงาน พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการ และรายได้ต่อเดือนที่ได้รับจากผู้ปกครอง

 

          This research aimed to identify factors associated with the behavior of financial discipline of undergraduate students at Kasetsart University Faculty. The methodology used quantitative research. The samples used in the research were number of 411 undergraduate students by multi stage selection. The questionnaire with 6 scale was used to collected data. The Index of consistencies were 0.72 – 1.00 and cronbach's alphas were .703 - .961. The statistics were Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and multiple regression analysis.

          The results indicate that

            1. The correlation coefficient analysis shows 5 of personals factors, psychologies factors, and environments factors significant relationship among financial discipline. The level of statistical significant was .01. Factors order by correlation coefficient were good attitude toward financial discipline, financial suitably model around them (from families and their friends), consumerism behavior, Future orientation and self - control, and income from family.

            2. The multiple regression analysis shows 5 of personals factors, psychologies factors, and environments factors could significant predict financial discipline. Levels of statistical significant were .05 to .01. Factors order by percent of predict were good attitude toward financial discipline, financial suitably model around them (from families and their friends), consumerism behavior, income by work, exposure of goods and service behavior, and income from family.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ