การจัดพื้นที่ใช้ประโยชน์ภายในฟิตเนสเซ็นเตอร์: กรณีศึกษาฟิตเนสเฟิร์ส สาขาเดอะพรอมานาด กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พชร พันธวัชโกศล

Abstract

           ปัจจุบันการออกกำลังกายได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากประโยชน์ที่ได้รับ ทั้งในด้านสุขภาพ บุคลิกภาพ รวมถึงการออกกำลังกายยังช่วยให้อารมณ์ของผู้ออกกำลังกายดีขึ้นอีกด้วย การวิจัยครั้งนี้ได้ทำศึกษา ณ ฟิตเนสเฟิร์ส สาขาเดอะพรอมานาด กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นฟิตเนสเซ็นเตอร์ที่รองรับกลุ่มผู้ใช้บริการในบริเวณย่านชานเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการจัดพื้นที่ทางกายภาพภายในฟิตเนสเซ็นเตอร์ รวมถึงศึกษากิจกรรมและพฤติกรรมการใช้พื้นที่บริเวณภายในฟิตเนสเซนเตอร์ของผู้ใช้บริการ ซึ่งงานวิจัยนี้มีวิธีในการเก็บข้อมูล ได้แก่ (1) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมโดยการถ่ายรูป การจดบันทึกข้อมูล การสังเกตกิจกรรมและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ รวมถึงการเก็บข้อมูลการกระจายตัวเพื่อหาความหนาแน่นในการใช้พื้นที่ของผู้ใช้บริการ (2) การสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านพื้นที่ภายใน ฟิตเนสเซ็นเตอร์ กิจกรรมการใช้พื้นที่ภายในฟิตเนสเซ็นเตอร์ของผู้ใช้บริการ รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้พื้นที่ภายในฟิตเนสเซ็นเตอร์ (3) ข้อมูลจากทฤษฎี ข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษารวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

           ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่ทางกายภาพภายในฟิตเนสเซ็นเตอร์ไม่สอดคล้องกับกิจกรรมและพฤติกรรมการใช้พื้นที่ของผู้ใช้บริการ โดยพื้นที่ที่พบปัญหาดังกล่าว ได้แก่ (1) พื้นที่บริการ บริเวณพื้นที่เคาน์เตอร์ต้อนรับและพื้นที่พักคอยของผู้ใช้บริการ (2) พื้นที่ยืดกล้ามเนื้อ (3) พื้นที่ออกกำลังกาย ได้แก่ พื้นที่ออกกำลังกายแบบบริหารหัวใจ พื้นที่ออกกำลังกายแบบเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และพื้นที่ออกกำลังกายแบบอิสระ (4) พื้นที่ออกกำลังกายกลุ่ม โดยผู้วิจัยได้สรุปและหาแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพภายในฟิตเนสเซ็นเตอร์ เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้พื้นที่ของผู้ใช้บริการมากขึ้น

 

           Fitness and exercise are more popular than ever. As widely acknowledged, the benefits of exercises not only can help to improve health conditions and personality traits but also can boost mood and self-esteem. While the study aimed to assess the physical spaces within fitness center and the users’ activities and behaviors in using those spaces, the Fitness First club at the Promenade was selected as a case study. Methodologically, while several methods of researching, observing, and interviewing were used, all data were collected and then analyzed. The results showed that various spaces within the club did not fully response to the behaviors and activities of users. These included (1) the service area - reception counter and lounge; (2) the stretching area; (3) The exercise areas – the cardio training area, weight training area, and freestyle training area; and (4) the group exercising area.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ