การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา

Main Article Content

แก้วใจ สุวรรณเวช

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ  1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา ดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้รายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทยเชิงวิเคราะห์  2.2) ศึกษาความสามารถในการสอนภูมิศาสตร์ของนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา  ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์  ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภูมิศาสตร์  ด้านการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์  ด้านการทำงานกลุ่มศึกษาค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ 2.3) ศึกษาเจตคติทางภูมิศาสตร์หลังการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์  2.4)ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษาชั้นปีที่ 3  หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทยเชิงวิเคราะห์  จำนวน 40 คน  ได้จากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การดำเนินการวิจัยการวิจัย  มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่  1 การวิจัย (Research: R1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A)  ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) การออกแบบและพัฒนา(Design and Development : D & D) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) การนำไปใช้ (Implementation: I) ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) การประเมินผล (Evaluation: E)

            ผลการวิจัย  พบว่า

              1.  รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา  มีองค์ประกอบ ดังนี้ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการ วัตถุประสงค์ องค์ประกอบกระบวนการจัดการเรียนการสอน องค์ประกอบเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมเพื่อการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ขั้นที่ 2 การเรียนรู้จากสถานการณ์จริงหรือสื่อการสอนภูมิศาสตร์ ขั้นที่ 3 การวางแผนการปฏิบัติการสืบค้นและการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์  ขั้นที่ 4 การรวบรวมข้อมูลหรือการสำรวจทางภูมิศาสตร์ ขั้นที่ 5 นำเสนอความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ภูมิศาสตร์  ขั้นที่ 6 การประยุกต์ใช้และสร้างสรรค์ความรู้ภูมิศาสตร์

              2.  ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ พบว่า 2.1) นักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษามีผลการเรียนรู้รายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทยเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2.2) ความสามารถในการสอนภูมิศาสตร์ นักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษามีความสามารถด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ถูกต้องตามมาตรฐานการเรียนรู้  องค์ประกอบครบถ้วน มีกิจกรรมการเรียนรู้การปฏิบัติการภูมิศาสตร์ที่ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภูมิศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง  ด้านการใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์อยู่ในระดับสูง และด้านการทำงานกลุ่มศึกษาค้นคว้าทางภูมิศาสตร์อยู่ในระดับสูง 2.3) นักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษามีเจตคติที่ดีทางภูมิศาสตร์ เห็นความสำคัญของรายวิชาภูมิศาสตร์ ความตระหนักถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ 2.4) นักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษามีความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ในระดับมาก

 

            The objectives of this research are as follows: 1) To develop the instructional model to enhance Geography teaching competency for undergraduates in Social Studies 2) To study the effectiveness of using instructional model to enhance Geography teaching competency for undergraduates in Social Studies 2.1) To compare the results of the subject Analytical Geography of Thailand 2.2) To study the teaching competency of Social Studies undergraduates, in terms of making Geography lessons plan, holding Geography teaching and learning activities, using Geographical instruments and working in group for Geography studies 2.3) To study attitudes towards Geography after using instructional model to enhance Geography teaching competency 2.4) To study the satisfaction of undergraduates towards learning management by using instructional model to enhance Geography teaching competency The sample 40 undergraduates of 3rd Year Social Studies, Bachelor of Education, Faculty of Education, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, who enrolled in Analytical Geography of Thailand, were chosen by Purposive Sampling. The research procedures consisted of 4 phase: Phase 1: Research (R1) the analysis of basic information (A), Phase 2: Development (D1) Design and Development (D & D), Phase 3: Research (R2) Implementation (I) and Phase 4: Development (D1) and Evaluation (E)

            The research findings found that:

               1. The components of the instructional model to enhance Geography teaching competency for undergraduates in Social Studies comprise principals, objectives, instructional, and conditions for model application. The process comprises these 6 steps: step 1 Preparation for Geography learning step, 2 Learning from actual situation or from Geography instructional media, step 3 Planning for practice and using geographical instruments, step 4 Collecting the information or Geography survey, step 5 Presenting and sharing geographical knowledge, and step 6 Applying and creating geographical knowledge

               2. The effectiveness of using the instructional model to enhance Geography teaching competency shows that 2.1) Social Studies undergraduates significantly got the higher result, statistically .05level, in post-learning of the subject Analytical Geography of Thailand than the pre-learning. 2.2) Regarding Geography teaching, Social Studies undergraduates are capable of writing Geography lesson plans correctly according to learning standards and completely putting all required components. They are able to hold geographical activities using geographical instruments. When it comes to Geography learning and teaching, their competency is at moderate level. They got high level both concerning using geographical instruments and working in group for Geography studies. 2.3)The Social Studies undergraduates have good attitudes toward Geography and see the significance of the subject Geography and realize the importance of natural environments 2.4) The Social Studies undergraduates feel significantly content with the instructional model to enhance Geography teaching competency.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ