แนวทางการออกแบบสื่อเคลื่อนที่สำหรับเด็กหญิงก่อนวัยรุ่นเพื่อการป้องกันตนเอง จากความเสี่ยงในการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
Main Article Content
Abstract
สาเหตุส่วนใหญ่ของคดีล่วงละเมิดทางเพศกับเด็ก เกิดมาจากการควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ของผู้กระทำผิด เช่น ความผิดปรกติทางเพศ การติดสารเสพติด เด็กหญิงที่อยู่ในช่วงก่อนวัยรุ่นนี้มีโอกาสสูง ที่จะถูกเป็นเหยื่อของคนร้ายเพราะร่างกายที่อ่อนแอกว่า และการไม่เท่าทันกลลวง ดังนั้นการล่อลวงของคน ร้ายมักจะทำให้เด็กหลงกลพาตัวเองเข้าไปในสถานที่ที่จะสามารถลงมือล่วงละเมิดทางเพศได้โดยง่ายหากเด็กรู้ไม่เท่าทันการล่อลวงก็จะอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงมากขึ้น การบอกให้เด็กรู้ถึงสถานการณ์เสี่ยงไม่พาตัวเองเข้าไป อยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ จึงเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพทางหนึ่ง และจะต้องสร้างความมั่นใจให้รู้ว่า “ตนเอง” คือคนแรกที่จะสามารถช่วยให้พ้นจากสถานการณ์ ล่วงละเมิดทางเพศได้นอกจากการสอนเรื่อง ป้องกันตนเองจากพ่อ แม่ ผู้ปกครองหรือครูแล้วหากเด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จะทำให้เด็กจดจำเรื่อง ราวหรือความรู้เหล่านั้นได้ดี เช่นการออกไปเรียนภาคสนามดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ทำขึ้นเพื่อทดลองสร้าง สื่อการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศในรูปแบบที่ต่างออกไปจากเดิม
การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใช้การผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก และใช้การวิจัยเชิง ปริมาณมาสนับสนุนงานออกแบบ เช่นการหาความสูงเฉลี่ยของเด็กหญิงที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะส่งผลต่อ ระดับสายตา และระยะการมองเห็น ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นเป็นการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการสอน ปัญหา ผลกระทบ และการป้องกันอันตรายทางเพศกับเด็กรวมถึงความรู้ทางการออกแบบ เชิงความคิดสร้าง สรรค์ การออกแบบนิทรรศการ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลงาน เริ่มจากการสร้าง Content (การคิดก่อนรับ, คิดก่อนเชื่อ, คิดก่อนไป) เชื่อมโยงไปสู่ Concept (คนแรกที่จะช่วยให้พ้นจากอันตราย คือ ตนเอง) จนเกิดเป็นวิธีการ (พาตัวเองออกจากสถานการณ์ ที่เสี่ยงด้วยการใช้ความคิด) และสร้างสรรค์ออก มาเป็นชิ้นงานออกแบบที่ถูกออกแบบมาเป็นเขาวงกตเพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าไปพบสถานการณ์จำลองโดยแทนด้วยคำถามที่ต้องคิดว่าจะเลือกเดินไปทางไหนเพื่อให้ถึงทางออกจากเขาวงกต โดยแบ่งการวัดผลออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1) ส่วนการสื่อสารกับกลุ่มตัวอย่าง โดยจำแนกออกมาเป็นสองส่วนย่อย A) 75 % สามารถการรับรู้ เรื่องคนแรกที่จะช่วยให้พ้นอันตรายคือตนเอง B) หลังจากที่ใช้งานออกแบบแล้วลุ่มตัวอย่างได้คะแนนจาก แบบทดสอบในเรื่องการ ป้องกันตัวเองจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ เพิ่มขึ้น 62.5 %, เท่าเดิม 25 % และลดลง 12.5 % 2) ในส่วนรูปแบบของงานออกแบบ ผลจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 คน มีความเห็นชอบเรื่องประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมในวงกว้างแนวคิด และวิธีสื่อสารในการออกแบบมีความ คิดสร้างสรรค์และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์อีกทั้งยังเห็นว่าสามารถนำแนวทางการออกแบบมาพัฒนาเป็น เรื่องอื่น ๆ ต่อได้
Child sexual abuse problem might cause from unable to control emotion of the sex offender when being addicted to drugs. Pre-adolescent female have high risk to be victims as they might not aware of harmful that might happened due to relationships or even strangers. Sex offenders always procure child to their place. If victim is deceived by sex offenders and mislead to their place, sexual abuse of children will be happened very easy. To help Pre-adolescent female to aware and understand is an important factor that can save themselves from harmful situations. It is worth to make them understand and induced their confidence of the teenagers that they are the one who can avoid sexual abuse. To make them be careful at all time to be in the save situations, the direct experience in field work study will benefit to them as top up from teaching by parents or teachers. Thus, this study is designed and proposed for an Instructional Media to raise awareness and preventive from sexual abuse to children in effective way.
There are combined between qualitative and quantitative to support this study for example gathering height information from focused group which is applied to dimension of the experimental design. Qualitative part is about gathering and analysis information about methodology of teaching and raising awareness on preventing children from sexual abuse as well as presenting this project by content and concept design to link to objective of this study. The evaluation processes of this project will be evaluated into 2 parts: Content design layout and sexual abuse awareness level of sample group. The experimental design is maze. In the maze user will meet the question that refer to risky situation. User have to consider and choose the way that they want to go.
Assessment of learning outcomes in term of awareness level from sample group (pre-adolescent female ages 9-12 years) is 75% understanding that they themselves will be the main person who can avoid sexual abuse. The evaluation score of self-awareness on sexual abuse from samples after learning from this experimental design compare to original are as follow: 62.5% of sample can increase their awareness, 25% of sample get same awareness and 12.5% of sample decrease the awareness. The evaluations by expertise in design agree on benefit of this concept and also the design as well as trust that it can be developed for better results.