ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อคุณภาพการให้บริการ ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 2)เพื่อศึกษาความคาดหวังของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และ 3)การเปรียบเทียบความพึงพอใจและความคาดหวังของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากรที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2558 จำนวน 354 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ̅x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการเรียงลำดับความสำคัญของความพึงพอใจและความคาดหวัง (Priority Needs Index : PNI)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยรวมอยู่ในระดับ มาก
2. ความคาดหวังของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยรวมอยู่ในระดับ มาก
3. การเปรียบเทียบความพึงพอใจและความคาดหวังของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการศึกษา วิทยาเขตที่ศึกษาอยู่ คณะวิชา อาชีพ รายได้ พบว่า มีความพึงพอใจและระดับความคาดหวังของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต่อคุณภาพบริการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร แตกต่างกัน
The purpose of this research were to 1)To examine the satisfactions of the graduate students on the quality of services of the Graduate School Silpakorn University. 2)To examine the expectations of the graduate students on the quality of services of the Graduate School Silpakorn University. 3)A comparison the satisfactions and expectations of the graduate students on the quality of services of the Graduate School Silpakorn University. Categorized into individual factors. The samples included 354 Graduate Students education in academic year 2015. The sampling method used was Simple Random Sampling. The questionnaires were instrumental to gather data. Data analysis was performed using the software. The statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean ( ̅x ), standard deviation (S.D.) and Priority Needs Index (PNI)
The results have found that
1. The Overall, satisfactions of the graduate students on the qualitys of services of the Graduate School Silpakorn University.
2. The Overall, expectations of the graduate students on the qualitys of services of the Graduate School Silpakorn University.
3. A comparison of satisfactions and expectations of the graduate students on the qualitys of services of the Graduate School Silpakorn University. Categorized into individual factors. Included sex, age, education level, status of education, campus, faculty, career, income. Showed satisfactions and expectations of the graduate students on the quality of services of the Graduate School Silpakorn University. Difference.