การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายก
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และประวัติความเป็นมาของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวน จังหวัดนครนายก 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนชาวไทยพวนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายก 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายก และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายก พื้นที่ศึกษาคือแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวนของจังหวัดนครนายก 7 ชุมชน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนชาวไทยพวน จังหวัดนครนายก ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ประชาชนชาวไทยพวนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการในเขตพื้นที่ศึกษา นักวิชาการผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครนายก เจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งสิ้น 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2 ชุมชนคือ ชุมชนในตำบลเกาะหวายและตำบลหนองแสง เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2559 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลจากการศึกษาพบว่า 1) สภาพการณ์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวน จังหวัดนครนายกมีแนวโน้มทางการท่องเที่ยวที่ดี เพราะมีสภาพแวดล้อมและทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่หลากหลาย มีความพร้อม มีการส่งเสริมการเรียนรู้ มีผู้นำชุมชนรับผิดชอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน นักท่องเที่ยวมีแรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ในระดับที่ดีมาก ชุมชนชาวไทยพวนมีประวัติความเป็นมายาวนานเกือบ 200 ปี 2) รูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้นคือ ทีเอ็ชซีแอลซีเอพีซี โมเดล “ThCLCAPC Model”ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ โดยที่ Th คือ Thai Phuan (ชาวไทยพวน) C หมายถึง Creation (การสร้างสรรค์) L คือ Learning (การเรียนรู้) C คือ Conservation (การอนุรักษ์) A คือ Awareness (ความตระหนัก) P คือ Participation of Community (การมีส่วนร่วมของชุมชน) และ C คือ Cultural Tourism Activity (กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม) ซึ่งผลการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายกพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมในชุมชนชาวไทยพวน และ 4) ผลการประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนไทยพวนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์พบว่า มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวนในทุกองค์ประกอบ โดยมีแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนไทยพวนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายกที่สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับได้รับการอบรมให้ความรู้ สร้างความตระหนัก ให้รู้คุณค่าของวัฒนธรรมชาวไทยพวน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่หลากหลายส่งเสริมการเรียนรู้ การประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง มีการจัดตั้งกลุ่มผู้รับผิดชอบ การจัดทำป้ายแหล่งท่องเที่ยวและสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐเพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ให้มีประสิทธิภาพและสามารถขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนชาวไทยพวนได้อย่างยั่งยืน
This research and development design aimed to 1) study the state and background of the cultural tourism management in Nakhon Nayok province, 2) develop an appropriate model of the Thai Phuan community’s tourism activity management to promote creative learning in Nakhon Nayok, 3) try out the developed model of the Thai Phuan community’s cultural tourism management to promote creative learning in Nakhon Nayok, and 4) evaluate and improve the model of the Thai Phuan community’s cultural tourism activity management to promote creative learning in NakhonNayok. Research sites were seven cultural tourism areas of the Thai Phuan community’s in Nakhon Nayok. The research implementation was carried out in Nong Saeng and Koh Waisub-districts. The subjects were 1) residents and related people, namely, a head of the government agency in the area, local academics, leaders of the communities, religions, local scholars or experts in local culture, tourism authority and sport in Nakhon Nayok province, public and private officials, as well as the residents of the seven communities. The data were collected through 1) in-depth interviews, 2)group discussion, 3) stages for learning exchange; the data collection were conducted in seven communities of two sub- districts, KohWai and Nong Saeng. The research instruments were guidelines for in-depth interviews and group discussion, and a form for observation recording. The data were collected in January–June 2016; and they were analyzed for frequency, percent, mean, standard deviation and content analysis.
The findings revealed that 1) the cultural tourism of Thai Phuan communities in Nakhon Nayok province had various tourism resource and environments with a better tourism trend and a very good motive of tourists for cultural tourism to promote learning. They had a long jistor or nearly 200 years. 2) The developed cultural tourism model to promote learning “ThCLCAPC Model” was composed of seven factors: Th (Thai Phuan), C (Creation), L (learning), C (conservation), A (Awareness), P (Participation of community), and C (Cultural tourism activity). The evaluation of the model by experts was found to be appropriate at a high level. 3) The implementation stage showed that the model was appropriate for Thai Phuan communities. 4) The model evaluation was found to be appropriate for Thai Phuan communities in all factors. The suggestions of the development were including contribution of knowledge and awareness, value and realization of the importance of cultural tourism, promotion of creative learning, building the communities’ participation, management of various tourism activities and learning, development of tourism personnel and continual public relations, establishing responsible groups, making tourist attractions signs, and, financial support from the government to fulfill the cultural tourism management of Thai Phuan communities to effectively promote creative learning in Nakhon Nayok, and the cultural tourism could be driven sustainably.