ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับผลสำเร็จในการดำเนินงานตามพันธกิจของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสถานศึกษา 2) ผลสำเร็จในการดำเนินงานตามพันธกิจของสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับผลสำเร็จในการดำเนินงานตามพันธกิจของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา อยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการกำหนดรายละเอียดของตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ด้านการวัดผลประเมินผลการดำเนินงานและนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนา และด้านการให้รางวัลตอบแทน ตามลำดับ
2. ผลสำเร็จในการดำเนินงานตามพันธกิจของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริหารวิชาการ อยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงบประมาณ และด้านการบริหารทั่วไป ตามลำดับ
3. การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับผลสำเร็จในการดำเนินงานตามพันธกิจของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
The purposes of this research were to study: 1) the level of schools’ result based management, 2) The achievement of performance according to school mission, and 3) relationship between result based management and performance achievement according to mission of schools under Phetchaburi Primary Education Service Area Office 1. The 278 research samples consisted of school administrators and teachers in schools under Phetchaburi Primary Education Service Area Office 1. The research tool was a 5-level rating scale questionnaire. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The research results were as follows:
1. The schools’ result based management in each aspect and overall was at a high level. When each aspect was considered, the schools’ strategic planning was at the highest level, and the three aspects with a lower level were, ranked in descending order of their means, determination of performance indicator detail, measurement and evaluation of performance and application of evaluation result for development, and reward provision, respectively.
2. The achievement of performance according to school mission in each aspect and overall was at a high level. The academic administration was at the highest level, and the three aspects with a lower level were, ranked in descending order of their means, personnel administration, budget administration, and general administration, respectively.
3. There was overall relationship at a high level with statistical significance at the 0.01 level between result based management and performance achievement according to school mission.