การพัฒนาแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

อาลัย พะสุนนท์

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1 )  เพื่อแบบฝึกและหาประสิทธิภาพของ แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน  3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน  กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน โรงเรียนธัญบุรี  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4   ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง  จำนวน 15 ชั่วโมง แบบแผนการวิจัย The One Group – Posttest Design

           เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน– เขียน(อ 31203 )  2) แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 3) แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test แบบ Dependent และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent

           ผลการวิจัย พบว่า

              1) แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.07/80.78 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด        

              2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังใช้แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

              3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน อยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.80

           ผลการวิจัย พบว่า

              1) นักเรียนและครูต้องการให้สร้างแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ลักษณะทั่วไป เทศกาลและประเพณี บุคคลสำคัญ อาหารพื้นเมืองในท้องถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีรูปแบบที่ใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ มีกิจกรรมที่หลากหลาย มีการเรียงเนื้อหาจากง่ายไปยาก และสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต  

              2) แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ  ประกอบด้วย ชื่อแบบฝึก คำนำ คำชี้แจงการใช้แบบฝึก สารบัญ จุดประสงค์ มาตรฐาน ตัวชี้วัด แบบทดสอบก่อนเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบหลังเรียน และ เฉลยแบบฝึกหัด มีทั้งหมด 5 เล่ม ได้แก่ (1) Getting to know general information (2) Getting to know great times (3) Getting to know famous people (4) Getting to know local products (5) Getting to know tourist attractions แบบฝึกมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.33/80.56

              3)  ผลการทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ  พบว่า นักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความมุ่งมั่นในการทำงานอยู่ในระดับดี  และนักเรียนความคิดเห็นต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ  อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก


           The purposes of this research were to : 1) develop and access the efficiency of English reading comprehension exercises based on ASEAN contents to meet the efficiency criterion of 80/80, 2) compare the ability in English reading comprehension of  tenth grade students before and after; this was based on ASEAN contents, 3) compare the knowledge before and after; this was managed using cooperative learning techniques based on ASEAN contents, 4) study on the satisfaction of tenth grade students regarding the exercises. The sample of this research were 40 tenth grade (class 8) students studying during  the first semester of the academic year 2015 at Thanyaburi school. The duration of the research  implementation covered 15 hours.

           The instruments used to collect data were 1) the lesson plans, 2) the English reading comprehension skill exercises 3) the English reading comprehension tests, 4) questionnaires inquiring students’ opinion on the  development of  English reading comprehension based on ASEAN contents. The data were statistically analyzed by statistical means, standard deviation, t-test dependent and content analysis.

            The results of this research revealed that:

                1. The efficiency of the English reading comprehension exercises based on ASEAN contents met the criterion of 80.07/80.78

                2. Regarding students' reading comprehension ability pretest and posttest outcome in English reading comprehension exercises , the mean score on posttest was higher than pretest with statistically significant at .05 level.  

                3. The tenth grade students revealed their positive opinion on the development of English  reading comprehension based on ASEAN contents at high level; The mean was  4.34  , standard deviation  was 0.80


Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ