การจัดผังพื้นที่ภายในร้านหนังสือ: กรณีศึกษาร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์

Main Article Content

ชาญวุฒิ แซ่จุง

Abstract

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผู้ที่เข้าใช้พื้นที่ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพของร้านหนังสือซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ในปัจจุบัน เพื่อทราบถึงข้อดีและข้อเสียและแนวทางที่เหมาะสมในการจัดผังร้านหนังสือ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อร้านหนังสือในการพัฒนารูปแบบการจัดผังร้านค้า รวมถึงศึกษาความพึงพอใจด้านการให้บริการของร้านหนังสือซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ และนำผลการวิจัยที่ได้มาเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบผังร้านหนังสือ ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ที่เหมาะสม

            การศึกษานี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการเข้าสำรวจพื้นที่ การสังเกตพฤติกรรมผู้เข้าใช้สถานที่ทุกประเภท รวมไปถึงพนักงานประจำร้านหนังสือด้วย ผุ้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์พนักงานด้วยแบบสอบถาม รวมถึงการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 246 คน ด้านความสนใจในสินค้า ความสะดวกใช้การเข้าใช้บริการ และด้านความพึงพอใจ แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ

            ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เกณฑ์ในการจัดผังพื้นที่โดยรวมอยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่จะมีปัญหากับบางส่วน เช่น ส่วนการจัดแสดงสินค้าผู้วิจัยเสนอว่าควรแบ่งพื้นที่สำหรับจัดแสดงสินค้าโดยเฉพาะ ด้านทางสัญจรคับแคบ ควรเว้นระยะทางเดินระหว่างชั้นหนังสืออย่างน้อย 90 เซนติเมตร ด้านความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ พบว่า ประเด็นต่าง ๆ อยู่ในระดับ ปานกลาง - มาก ซึ่งข้อมูลจาก แบบสอบถามผู้เข้าใช้บริการพบว่า มีปัญหาด้านทางสัญจรคับแคบ ผู้เข้าใช้บริการบางส่วนต้องการพื้นที่นั่งเพื่ออ่านหนังสือ และผู้เข้าใช้บริการบางส่วนต้องการจุดบริการน้ำดื่มหรือกาแฟ โดยปัญหาเหล่านี้มีข้อจำกัดของทางห้างสรรพสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง และข้อจำกัดที่มาจากนโยบายของทางร้านหนังสือซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการเสนอแนะเพื่อปรับปรุงผังร้านหนังสือซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ได้

 

           The study aimed to identify physical environment problems of the SE-ED Book Center, to assess the satisfaction of users with the SE-ED book Center, and to suggest the suitable design guidelines for the SE-ED Book Center.  Methodologically, while various behavioral matters of users within several stores were observed, questionnaires and interviews were also used to collect data from 246 people. Then, the statistical method was employed to interpret those data.

            The results showed that area arrangement within the stores were at reasonable level.  However, several problems still occurred at merchandise display areas, drop-off areas, and aisles.  Moreover, the sample respondents were satisfied with various aspects at a medium to high levels.  According to questionnaires, narrow aisles, shortages of spaces for sitting and reading, and lacks of drinking water or coffee points were reported. 

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ