การเดินทางเข้าสู่วิหารแห่งจิต

Main Article Content

พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น
ปริญญา ตันติสุข
สุธา ลีนะวัต

Abstract

           การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมชุด การเดินทางเข้าสู่วิหารแห่งจิต มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นแสดงเนื้อหาทางศิลปะโดยการสร้างรูปทรงที่มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ขึ้นจากจุด เส้น สี พื้นผิว ค่าน้ำหนักอ่อน-แก่บนพื้นที่ว่าง ตลอดจนสัญลักษณ์อื่นที่เกี่ยวข้องในความหมายสะท้อนถึงอารมณ์ความรู้สึกความคิด ชีวิตและจิตวิญญาณ เสมือนเป็นบทบันทึกประจำวัน หรือการบันทึกประสบการณ์ปัจจุบันของผู้สร้างสรรค์ ในรูปแบบวาดเส้น/จิตรกรรม แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกาย กระบวนวิธีที่เกี่ยวข้องกับการฝึกรวมพลังจิตเป็นอุบายอันแยบคายสู่การปลุกเร้าให้เกิดสติและแสดงออกเป็นผลงานศิลปะโดยการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกแบบฉับพลัน (ความรู้สึกสด-ใหม่) ด้วยหมึกดำบนกระดาษ เชื่อมโยงกับการเจริญภาวนา (Meditation) การกำหนดลมหายใจบนฐานของความเคลื่อนไหวทางร่างกายผสานกับวิธีคิดตามหลักพุทธธรรม เป็นหนึ่งในกลวิธีที่ทำให้มีสติ สัมปชัญญะ การประมวลความคิดและทดลองค้นคว้าหาความจริงใหม่ ของการสร้างสรรค์ในเชิงเทคนิค วิธีการ รูปทรง รูปแบบ ที่สอดคล้องกับแนวทางการสร้างสรรค์  และจุดมุ่งหมายของการแสดงออกโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ใหม่ ผลการสร้างสรรค์ได้ค้นพบวิธีการแสดงออกทางเทคนิคที่เรียบง่าย เข้าถึงธรรมชาติในจิตใจของตนเอง และสามารถแสดงพลังของศิลปะในรูปแบบผลงานจิตรกรรมด้วยหมึกดำบนกระดาษจากการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกาย สื่อถึงพลังสันติที่อยู่ภายในจิตใจ และพบกลวิธีในการอยู่กับปัจจุบัน สะท้อนถึงสารัตถะสภาวะจิตและความสมดุลของชีวิตและค้นพบวิธีการนำคุณค่าของการสร้างผลงานศิลปะแบบขนบธรรมเนียมดั้งเดิมสู่โลกสากล (ร่วมสมัย) และสามารถนำแนวทางการสร้างสรรค์ บูรณาการองค์ความรู้ ในเชิงวิชาการสู่การใช้ศิลปะบำบัดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้รับจากการปฏิบัติสู่สาธารณชนหรือกลุ่มบุคคลผู้สนใจต่อไปในอนาคต

 

           The creation of the painting “A Journey into a Temple of Mind” intends to illustrate a substance of art by creating forms with symbolic meaning in dots, lines, colors, surface, light-heavy brushstrokes on an empty space; including other relevant symbolic forms that reflect emotions, ideas, life, and soul. The painting acts as a diary or a memoir of the creator through the form of drawing/painting expressing a relationship between the mind and body.

            To train the mind is an artful method of awakening, resulting in an expression of abrupt emotions (fresh and new feelings) in art through the black ink on paper. Meditation, a breathing exercise practiced on a foundation of physical movement and Buddhist beliefs, is one of the method to gain apperception, thought processing, and a search for new truth; in creative techniques, approach, form, and pattern which harmonize with the creative process and the purpose of the expression, from analyzing and synthesizing of new knowledge.

            The result of the work revealed a simple technique of reaching into nature of one’s own mind and express the energy in a painting of black ink on paper. From the expression reflecting a relationship between the mind and the body portraying peaceful energy within, and a discovery of way to remain in the present reflect an essence of a state of mind, life’s balance, and an application of traditional art’s appreciation to the modern world (contemporary). The creative process of integrating an academic knowledge can be used in an art therapy; while the exchange experience from the practice can also be shared with the public or anyone who may take interest.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ