การออกแบบเพื่อเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าชมนิทรรศการ: กรณีศึกษาอาคารพิพิธภัณฑ์ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ
Main Article Content
Abstract
บทความนี้กล่าวถึงการออกแบบสถาปตยกรรมอาคารพิพิธภัณฑ์ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีกระบวนการออกแบบที่สำคัญคือการมีแนวทางการออกแบบเพื่อให้เกิดแนวโน้มการเพิ่มการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เข้าชมด้วยการกำหนดความสัมพันธ์ลำดับการเข้าถึงส่วนนิทรรศการพื้นที่โถงเอนกประสงค์โดยที่มาของแนวความคิดที่จะเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าชมนั้นเกิดจากการพบปัญหาคือ ผู้ออกแบบถูกกำหนดให้ออกแบบเฉพาะตัวสถาปัตยกรรมเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบตัวนิทรรศการและวิธีการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พิพิธภัณฑ์มีความน่าสนใจและเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีความสามารถในการดึงให้ผู้ชมกลับมาอีกครั้งหนึ่ง โดยเป็นหน้าที่ของนักออกแบบนิทรรศการในขั้นตอนหลังอาคารเสร็จ จากปัญหาดังกล่าวผู้ออกแบบจึงต้องการออกแบบให้เกิดความน่าสนใจของตัวพิพิธภัณฑ์ในระดับโครงสร้างเพื่อเป็นฐานให้ นักออกแบบนิทรรศการต่อยอดต่อไปได้
ผลการออกแบบนั้นจะเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ส่งผลในระดับโครงสร้างของการใช้งาน และมีแนวโน้มตามทฤษฎีว่าจะเกิดการปฏิสัมพันธ์ที่มากขึ้นของผู้เข้าชม แต่ทั้งนี้ผลจะเป็นไปตามแนวโน้มที่คาดการณ์ไว้หรือไม่นั้น ต้องขึ้นกับองค์ประกอบแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นภายหลังอีกด้วย
This article describes a design process of the Natural Resources Satellite Museum. Its a design approach tends to increase interaction among visitors by defining the organization of space in the visitable sequence and the gathering space. Origin of the idea came from the problem that an architect was assigned to design only architecture but not involved in the design of exhibition which is an interesting part of the museum it can be important attraction that will bring audiences to visit the museum again. This exhibition design work is duty of an exhibition designer after the building construction is finished
This article therefor attempts to provide solutions and examples of exhibition space to enhance interaction among visitors. The interior space also effects architectural design.