ละครพูดตามรูปแบบพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
Main Article Content
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและองค์ประกอบของละครพูดในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเพื่อวิเคราะห์รูปแบบและองค์ประกอบของละครพูดตามรูปแบบของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวของคณะละครสมัครเล่น “ทับแก้ว” โดยเก็บข้อมูลจากการแสดงละครพูดเรื่องหัวใจนักรบของคณะละครสมัครเล่น “ทับแก้ว” ซึ่งจัดแสดงเนื่องในวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ประจำปีพุทธศักราช 2555 ข้อมูลที่ศึกษาประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ และการจัดประชุมสนทนากลุ่มย่อย
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของละครพูดในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ขั้นเตรียมการแสดง ประกอบด้วยการคัดเลือกนักแสดงซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกจากข้าราชบริพารด้วยพระองค์เองและการซ้อมการแสดง 2. ขั้นก่อนเริ่มการแสดง ประกอบด้วยการโหมโรงด้วยดนตรีไทย การแสดงเบิกโรง และการกระทุ้งเวที และ 3. ขั้นการแสดง ส่วนรูปแบบของละครพูดตามรูปแบบพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวของคณะละครสมัครเล่น “ทับแก้ว” มี 3 ขั้นตอนเช่นเดียวกันแต่แตกต่างกันที่ในขั้นตอนที่ 1 มีเพิ่มการบวงสรวง และการคัดเลือกนักแสดงใช้วิธีรับสมัครและคัดเลือกให้เหมาะสมกับบทบาทของตัวละคร ขั้นตอนที่ 2 ก่อนการโหมโรงมีเพิ่มการถวายบังคม การอ่านอาเศียรวาท และการโหมโรงด้วยดนตรีสากล ขั้นตอนที่ 3 หลังการแสดงจบ มีเพิ่มการร้องเพลงจากบทพระราชนิพนธ์ที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับละครที่แสดง ส่วนด้านองค์ประกอบของการแสดงพบว่า ละครพูดพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. บทละคร 2. นักแสดง 3. การแต่งกาย 4. สถานที่แสดง 5. ฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก และ 6. ดนตรีประกอบ ทั้งนี้ การแสดงละครพูดของคณะละครสมัครเล่น “ทับแก้ว” มีองค์ประกอบการแสดง 6 องค์ประกอบเช่นเดียวกัน แต่มีรายละเอียดขององค์ประกอบบางอย่างที่แตกต่างออกไป ได้แก่ มีการปรับเปลี่ยนเครื่องแต่งกายของตัวละครบางตัวมีการสร้างสรรค์ฉากและอุปกรณ์ประกอบฉากให้เหมาะสมกับสถานที่แสดงละคร และมีการใช้เสียงดนตรีรวมทั้งเอฟเฟค แสง เสียงสำเร็จรูปประกอบการแสดงเพื่อช่วยเน้นอารมณ์ของตัวละครให้ชัดขึ้น
ผลการศึกษาทำให้เห็นว่า การแสดงละครพูดพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่องหัวใจนักรบของคณะละครสมัครเล่น “ทับแก้ว” ยังคงรักษารูปแบบและองค์ประกอบของการแสดงตามแบบของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยได้เกือบทั้งหมดซึ่งแสดงให้เห็นถึงปณิธานและแนวทางการอนุรักษ์เชิงสร้างสรรค์และสืบทอดการจัดการแสดงละครพูดพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้คนรุ่นหลังได้เห็นเป็นแบบอย่าง
This study aims at examining forms and elements of dialogue plays of His Majesty King Vajiravudh (Rama VI) and examining forms and elements of dialogue play of “Tubkaew” Amateur Drama Troupe – the case study of “Huajai Nakrob” performed on the occasion of “Somdet Pramaha Theeraratchao Day 2012”. The data elicited are fromdocuments, interviews, and focus group meetings.
The results reveal that there are three steps of the King Rama VI’s performing dialogue plays – 1. Preparing step, consists of the audition, which the King Rama VI pro se selected from his courtiers, and the rehearsal, 2. Before the performance step, consists of Thai musical overture, prelude performance, and stage poking, and 3. Performance step. For the performance of dialogue play of “Tubkaew” Amateur Drama Troupe, there are three steps of the performance as well. However, some elements are different – in the step of preparing, the oblation are added, and the performers are enrolled and are selected for the suitable characters, in the step of before the performance, paying homage, reading the encomium to His Majesty King Vajiravudh, and western musical overture are added, and for the last step, after the performance, all of the performers sing the King Rama VI’s song which related to the dialogue play performed. In terms of elements, the dialogue plays of the King Rama VI consist of six elements – 1. Script 2. Performer 3. Costume 4. Performance place 5.Backdrop and other equipment 6. Music. The dialogue play of “Tubkaew” Amateur Drama Troupe also has six elements. Yet, costume, scene and places are also different but there are not effect overall perspective because no matter what scenes, Tubkaew amateur drama troupe’s team can create the realistically background. Moreover, music, sound technic and light are quite different to emphasize the emotions of the characters.
This study dictates that Tubkaew amateur drama troupe still well conserves forms and elements of the traditional dialogue plays of His Majesty King Vajiravudh (Rama VI). There might be some differences that occurred that has to adjust for appropriateness due to internal and external factors. This play shows the determination and ways to conserve and inherit King Rama VI’s play with “creative conservation.”