แนวทางไคเนติก อาร์ต เพื่อการออกแบบเลขนศิลป์สำหรับนิทรรศการ ความเป็นมาละครเวทีไทย

Main Article Content

สรัล ตั้งตรงสิทธิ์

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลความเป็นมาละครเวทีของไทย โดยศึกษาแนวทางไคเนติก อาร์ต และการออกแบบเลขนศิลป์สำหรับการจัดนิทรรศการความเป็นมาละครเวทีของไทย จากสมมติฐานว่า ไคเนติก อาร์ต จะสร้างความน่าสนใจ ด้วยการเคลื่อนไหว ดึงดูดสายตาตามหลักจิตวิทยาสามารถกระตุ้นจินตนาการ และสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียภาพในการชมนิทรรศการแก่ผู้ชม นอกเหนือจากความรู้ที่ได้รับจากนิทรรศการได้

            การดำเนินการวิจัย เริ่มจากค้นคว้าองค์ความรู้ด้าน ไคเนติก อาร์ต ข้อมูลด้านละครเวทีของไทยเพื่อใช้เป็นเนื้อหาสำหรับนิทรรศการ และเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ ศึกษาองค์ความรู้ของการออกแบบนิทรรศการ และด้านเลขนศิลป์เพื่อใช้ในการออกแบบตราสัญลักษณ์ อัตลักษณ์ประจำนิทรรศการ กราฟิกบนสภาพแวดล้อม ตลอดจนศึกษาทฤษฎีศิลปะ และศิลปะการจัดวางสื่อกับพื้นที่เฉพาะ เพื่อบูรณาการกับการออกแบบในพื้นที่

            พื้นที่กรณีศึกษา คือหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือ BACC ใน ชั้น 8-9 โดยศึกษาข้อมูลทางกายภาพเบื้องต้น วิเคราะห์ข้อมูลด้านต่าง ๆ เป็นหมวดหมู่ หาความเหมาะสมต่อการวางผังการออกแบบ จัดแสดงนิทรรศการ กำหนดโครงสร้างของแนวคิดหลักของการออกแบบคือ “Never Stop Glowing, Never Stop Growing” ซึ่งมีความหมายว่า “ไม่หยุดส่องสว่าง ไม่หยุดเติบโต”

            ผู้วิจัยได้แบ่งการออกแบบนิทรรศการเป็น 4 หมวดหมู่ คือ 1) ชื่อนิทรรศการ 2) ตราสัญลักษณ์ 3) อัตลักษณ์นิทรรศการ 4) นิทรรศการ โดยจัดแผงผังของนิทรรศการในแต่ละพื้นที่ และตั้งชื่อนิทรรศการแต่ละโซนจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านละครเวที มีทั้งหมด 12 โซน คือ 1) โปรล็อค (Prologue) 2) โอเวอร์เจอร์ (Overture) 3) สู่ประชาชน (To People) 4) จันทร์เจ้าขา (Chanchaokar) 5) ละคร “วัธนธัม” (Lakorn for Wattanatam)  6) รุ่งเรืองในสงคราม (Rises in the War) 7) อินเทอร์มิสชั่น (Intermission)  8) รีพรีส (Reprise)  9) ร่ำรวย/จน (Rich/Pool) 10) เติบโต (Grow) 11) วิก (Wig) 12) เอพิล็อค (Epilogue) ใช้เทคนิคไคเนติก อาร์ต คือ Optical Art, Audience Interact, Moveable Painting, Machine, Mobile,Constructivism, Magnet ร่วมกับวิธีคิดเชิงศิลปะการจัดวางกับพื้นที่

 

            การประเมินผลลัพธ์งานวิจัย พบว่า ไคเนติก อาร์ตสามารถสร้างการเคลื่อนไหว ดึงดูดความสนใจได้ตามหลักจิตวิทยา สร้างประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ชม โดยการนำเอาส่วนสำคัญของละครเวที เช่น บรรยากาศ อารมณ์ และการเคลื่อนไหว มานำเสนอในรูปแบบของนิทรรศการ ที่กระตุ้นให้ผู้ชมเกิดจินตนาการ และมีส่วนร่วมได้  ซึ่งไคเนติก อาร์ต และศิลปะการจัดวางนั้นสามารถเชื่อมโยง สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชม กับข้อมูลความรู้ของนิทรรศการได้เป็นอย่างดี

 

           The objective of this research is to study the history of Thai theatre, Kinetic Art and Graphic design for Thai theatre exhibition. The hypothesis of the research is that Kinetic Art can make the interest by movement, visual appeal like the psychology fact, pushing the audience imagination and aesthetic experience.

           The research process begins with study of Kinetic Art, Thai theatre history for exhibition content and making design inspiration, studying graphic design theory for logo, exhibition identity graphic, graphic in environment, exhibition design. Study art theory for exhibition design which integrating with Kinetic Art and installation art method. 

            The space for case study is 8th and 9th floors of Bangkok Art & Culture Centre (BACC). The researcher analyzes the BACC physical data into categories for planning the exhibition master plan under the design concept as “Never Stop Glowing, Never Stop Growing”.

             The researcher classifies the exhibition in 4 categories follows: 1) Exhibition title
2) Exhibition logo 3) Exhibition identity graphic  4) Exhibition design. Next, design the master plan, naming 12 zones in exhibition by using the analysis of Thai theatre history as 1) Prologue 2) Overture  3) To people  4) Chanchaokar  5) Lakorn for Wattanatam  6) Rises in the War 7) Intermission  8) Reprise  9) Rich / Poor  10) Grow  11) Wig  12) Epilogue. The technical of Kinetic Art that using in the project is Optical Art style, Audience Interact, Moveable Painting, Machine, Mobile, Constructivism, and Magnet. All are integrated with installation artmethod. Results of the research found that Kinetic Art can make an interesting by movement and illusion, visual appeal like a psychology fact, creating a new experience to the audience by adopting a significant feature of Drama as mood, atmosphere and movement into exhibition. For Kinetic Art, it is not just a movement objects but it can interact with the audience also encourage imagination an aesthetic experience.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ