ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่สามารถพยากรณ์จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศึกษาระดับจรรยาบรรณวิชาชีพ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่สามารถพยากรณ์จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ครูจากโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงตั้งแต่ 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่น (α) ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม เท่ากับ .95 และด้านจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation) และสมการถดถอยพหุคูณแบบวิธีการคัดเลือกเข้า (Multiple Regression Analysis- Enter Method)
พบว่า ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และด้านการกระตุ้นทางปัญญา พบว่า ระดับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านจรรยาบรรณต่อสังคม ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ และด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กับจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = .979 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในระดับสูงมาก พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01โดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทุกด้านร่วมกันพยากรณ์จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมได้ร้อยละ 97.90 โดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลมีอำนาจการพยากรณ์สูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา
The purposes of this research were to study the level of transformation leadership of school administrators of Phrapariyatidhamma Schools, Division of General Education Department under National Office of Buddhism; study the level of professional ethics of school administrators of Phrapariyatidhamma Schools, Division of General Education Department under National Office of Buddhism; study the relationship between transformation leadership and professional ethics of school administrators of Phrapariyatidhamma Schools, Division of General Education Department under National Office of Buddhism; and study transformation leadership forecasting professional ethics of school administrators of Phrapariyatidhamma Schools, Division of General Education Department under National Office of Buddhism. The samples consisted of 136 teachers of Phrapariyatidhamma Schools, Division of General Education Department under National Office of Buddhism, academic year 2016 by using Krejcie & Morgan (1970 : 607-610). The stratified random sampling was done by using school as strata to use for calculate the sample size. Simple random sampling was done by lottery. The instruments used for data collection were 5 point-rating scale questionnaires. The questionnaires were distributed to five experts to check for the content validity. IOC (Index of Item- Objective Congruence) was valued since 0.60-1.00 and reliability of transformation leadership of school administrators of Phrapariyatidhamma Schools was .95 and reliability of professional ethics of school administrators of Phrapariyatidhamma Schools was .97. The data analysis was done by mean and standard deviation. The tests of hypothesis were done by using pearson product-moment correlation coefficient, multiple correlation and multiple regression analysis- enter method.
The research results were as following;
The level of transformation leadership of school administrators of Phrapariyatidhamma Schools, When considering each individual aspect, the research found to be at high level in all aspects by descending order of the average as follow; inspirational motivation, individualized consideration, idealized influence and intellectual stimulation. The level of professional ethics of school administrators of Phrapariyatidhamma Schools, When considering each individual aspect, the research found to be at high level in all aspects by descending order of the average as follow; social ethics, self-ethics, co-occupation ethics, professional ethics and service-user ethics. There was a statistically significant positive relationship at .01 between transformation leadership and professional ethics of school administrators of Phrapariyatidhamma Schools, Division of General Education Department under National Office of Buddhism. Pearson's correlation coefficient (r) = .979 showed that the two variables had relationship at a very high level. Transformation leadership affecting professional ethics of school administrators of Phrapariyatidhamma Schools, Division of General Education Department under National Office of Buddhism at .01 level. All aspect of transformation leadership mutually predict professional ethics of school administrators of Phrapariyatidhamma Schools, Division of General Education Department under National Office of Buddhism. The predictive power was at 97.90 percent. The aspect of individualized consideration had the highest predictive power followed by intellectual stimulation.