แนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการของธุรกิจร้านอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวนานาชาติ ในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้ต่อคุณภาพการบริการของนักท่องเที่ยวนานาชาติในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพบริการของธุรกิจร้านอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวนานาชาติ ในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยสำรวจความคาดหวังต่อคุณภาพการบริการร้านอาหารของนักท่องเที่ยวนานาชาติในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวนานาชาติที่มาใช้บริการธุรกิจร้านอาหารในเขตอำเภอหัวหิน และความคาดหวังที่มีต่อคุณภาพการบริการธุรกิจร้านอาหารในเขตอำเภอหัวหินจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพ ,ด้านความน่าเชื่อถือ ,ด้านการตอบสนอง, ด้านการสร้างความเชื่อมั่น และ ด้านการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งพื้นที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ บริเวณร้านอาหารในเขตอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักท่องเที่ยวนานาชาติที่เดินทางมาใช้บริการธุรกิจร้านอาหารในอำเภอหัวหินโดยผู้วิจัยได้ทำการเลือกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) และใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด ซึ่งจำนวนนี้ได้จากการใช้ตารางสำเร็จรูปของ Yamane (1967) ในการวิเคราะห์เชิงสถิติจะนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สถิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์หาค่าสถิติทางประชากรศาสตร์ ซึ่งสถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณนาโดยผลการศึกษาพบว่า ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวนานาชาติ ที่มีต่อคุณภาพการบริการของร้านอาหารในเขตอำเภอหัวหินในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( ̅x=3.15) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคาดหวังในด้านการตอบสนอง( ̅x=3.41) รองลงมาคือด้านการสร้างความเชื่อมั่น( ̅x=3.32) ด้านการดูแลเอาใจใส่( ̅x=3.27) ด้านความน่าเชื่อถือ ( ̅x=3.06) และด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพ( ̅x=2.68) ตามลำดับ
การรับรู้ของนักท่องเที่ยวนานาชาติ ที่มีต่อคุณภาพการบริการของร้านอาหารในเขตอำเภอหัวหินในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( ̅x=3.99) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า นักท่องเที่ยวมีการรับรู้ต่อคุณภาพการบริการในด้านการสร้างความเชื่อมั่น ( ̅x=4.12) รองลงมาคือด้านการดูแลเอาใจใส่ ( ̅x=4.09) ด้านความน่าเชื่อถือ( ̅x=3.93) ด้านการตอบสนอง( ̅x=3.92) และด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพ( ̅x=3.91) ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคาดหวัง และการรับรู้ของนักท่องเที่ยวนานาชาติ ที่มีต่อคุณภาพการบริการของร้านอาหารในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ความคาดหวัง และการรับรู้ของนักท่องเที่ยวนานาชาติ ที่มีต่อคุณภาพการบริการของร้านอาหารในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แตกต่างกันทั้งในภาพรวม และรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
This research paper “Approaches to restaurant service quality development for international tourists in Hua Hin, Prachubkirikhan” aims to compare international tourists’ expectation of and perception towards service quality and to find the approaches to improve restaurant service quality for international tourists. This qualitative research investigates international tourists’ expectation of restaurant service quality in Hua Hin, Prachubkirikhan in relation to demographic factors of the tourists who received the service in the studied district. The study also explores the expectation of restaurant service quality in Hua Hin in terms of five areas including 1) physical features 2) reliability 3) responsiveness 4) creditability and 5) care-taking. The focused area of the study is the restaurants in Hua Hin, Prachubkirikhan. The population in this study is the international tourists who used the restaurant service in Hua Hin. Simple random sampling was used to select the tourists for this study. Four hundred copies of survey were distributed to the samples using Yamane’s (1967) formula.The formula was used for statistical analysis of demographical statistics which is descriptive statistics. The results show that international tourists’ overall expectation of restaurant service in Hua Hin, Prachubkirikhan is at a medium level ( ̅x=3.15). The tourists’ expectation in terms of responsiveness is the highest ( ̅x= 3.41). The ones below are assurance ( ̅x= 3.32), empathy ( ̅x = 3.27), reliability ( ̅x= 3.06), and tangibility ( ̅x= 2.68), respectively.
International tourists’ overall perception towards restaurant service quality in Hua Hin, Prachubkirikhan is at high level ( ̅x=3.99). Considering each area ranging from highest to lowest, it was found that the tourists were satisfied with the service quality in terms of assurance ( ̅x=4.12), empathy ( ̅x=4.09), reliability ( ̅x=3.93), responsiveness ( ̅x=3.92), and tangibility ( ̅x=3.91), respectively. The comparison of the international tourists’ expectation and their perception towards restaurant service quality shows that the tourists’ expectation and awareness of the restaurant service quality in Hua Hin, Prachuabkirikhan are different both in overall and each area, which appeared to be significant (p < 0.05).