แนวโน้มการเลือกสายอาชีพของนิสิต นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่หกกับ คุณลักษณะของเภสัชกรที่ดีตามแนวคิดขององค์การอนามัยโลก
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นงานศึกษาเชิงพรรณนาชนิดภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study)มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกประกอบวิชาชีพในสายอาชีพต่างๆ ของนิสิตและนักศึกษาชั้นปีที่ 6 คณะเภสัชศาสตร์ 4 สถาบันในเขตภาคกลางของประเทศไทยกับคุณลักษณะของเภสัชกรที่ดีตามแนวคิดขององค์การอนามัยโลก (ความเป็นเภสัชกรเจ็ดดาว) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 526 คนด้วยแบบสอบถาม ได้รับการตอบกลับทั้งสิ้น 390 คน คิดเป็นร้อยละ 74.14 ผลการศึกษาพบว่าสายอาชีพที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสนใจมากที่สุดสามอันดับแรกคือ เภสัชกรโรงพยาบาล (ร้อยละ 32.39) เภสัชกรชุมชน(ร้อยละ 23.36) และผู้แทนยา (ร้อยละ 12.04) กลุ่มตัวอย่างประเมินตนเองในด้านการเป็นผู้นำเฉลี่ย 4.20 คะแนนจาก 5.00 คะแนน และการเป็นผู้ให้การดูแล 4.19 คะแนน ซึ่งสูงกว่าด้านอื่นๆ ในขณะที่ด้านการเป็นครู 3.67 คะแนน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3.56 คะแนน ซึ่งถือเป็นสองอันดับสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างที่เลือกสายอาชีพด้านคิดค้นและพัฒนายามีระดับความเป็นเภสัชกรเจ็ดดาวสูงสุด คือ 4.04 คะแนน ในทางตรงกันข้าม กลุ่มตัวอย่างที่เลือกสายอาชีพคุ้มครองผู้บริโภคมีระดับความเป็นเภสัชกรเจ็ดดาวต่ำสุด คือ 3.69 คะแนน กลุ่มตัวอย่างที่เลือกศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นมีความต้องการที่จะนำมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100.00 ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เลือกสายอาชีพด้านคิดค้นและพัฒนายามีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานในตำแหน่งนำมากที่สุด คือ ร้อยละ 95.00
This cross-sectional descriptive study aimed to study the relationship between sixth year pharmacy students’ choice of their future careers and the level of a seven-star pharmacist. There were 526 questionnaires distributed and 390 questionnaires were returned which meant 74.14% response. The results showed that 32.39% of samples chose hospital pharmacists as their future careers, followed by community pharmacists (23.36%) and drug representatives (12.04%). Overall, they rated themselves highest in leader domain (4.20/5.00) and caregiver domain (4.19/5.00). On the other hand, they rated themselves lowest in teacher domain (3.67/5.00) and life-long learner domain (3.56/5.00).Respondents who selected to work in research and development area had the highest average score of seven-star pharmacist (4.04/5.00). Meanwhile respondents who selected in consumer protection area had the lowest average score of seven-star pharmacist (3.69/5.00). 100% of respondents who decided to study in higher levels classified themselves as desired-to-lead, while 95% of respondents who selected to work in research and development area were ready to work in leading positions.