การแปรการใช้ศัพท์ของคนสามระดับอายุในภาษาผู้ไทกะป๋อง จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย

Main Article Content

จริยา เสียงเย็น
สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ

Abstract

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรการใช้ศัพท์ของคนสามระดับอายุในภาษาผู้ไทกะป๋อง อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้หน่วยอรรถจำนวน 600 หน่วยอรรถ สัมภาษณ์ผู้บอกภาษาซึ่งผู้วิจัยแบ่งผู้บอกภาษาออกเป็น 3 ระดับอายุ คือ ระดับอายุที่ 1 อายุ 55-65 ปี ระดับอายุที่ 2 อายุ 35-45 ปี ระดับอายุที่ 3 อายุ 15-25 ปี ผลการศึกษาพบว่า 1) การแปรด้านการใช้ศัพท์ พบ 3 ประเภท คือ 1. ศัพท์ที่ผู้บอกภาษาทั้งสามระดับอายุใช้เหมือนกัน 2. ศัพท์ที่ผู้บอกภาษาสองระดับอายุใช้เหมือนกัน 3. ศัพท์ที่ผู้บอกภาษาทั้งสามระดับอายุใช้แตกต่างกัน โดยผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 1 ใช้ศัพท์ผู้ไทกะป๋องมากที่สุด ในขณะที่ผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 3 ใช้ศัพท์อื่นมากที่สุด ส่วนผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 2 ใช้ศัพท์ผู้ไทกะป๋องร่วมกับศัพท์อื่นมากที่สุด  2) การแปรด้านรูปศัพท์ พบว่ามีการแปรเสียงพยัญชนะและเสียงสระในศัพท์ผู้ไทและศัพท์อื่น 3) การแปรด้านความหมายของศัพท์ พบว่ามีการแปรความหมายในศัพท์ผู้ไททั้งการแปรความหมายแบบกว้างออกและการแปรความหมายแบบแคบเข้า 4) การสูญศัพท์ พบการสูญศัพท์ในภาษาผู้ไท กะป๋องเนื่องจากการใช้ศัพท์อื่นแทนศัพท์ผู้ไทกะป๋องของคนสามระดับอายุ

 

           This article aimed to study Lexical variation among three generations of Phuthai Kapong in Sakon Nakhon Province, Thailand. The researcher collected the data using 600 semantic units by interviewing the speakers who were divided into three groups by age level:  The first group was 55-65 years old, the second group was 35-45 years old, and the third group was 15-25 years old. It was found that 1) The lexical variation could be divided into 3 groups; 1. the same lexical was used in 3 generations 2. the same lexical was used in 2 generations and 3.  the lexical was used in different ways in 3 generations. The participants in the first group used Phuthai Kapong vocabulary the most while the third group used the other vocabulary and the second group used Phuthai Kapong along with the other vocabulary 2) In terms of lexical variation, there was the variation in consonant and vowel sounds in Phuthai Kapong vocabulary and other vocabulary 3) In terms of variation in meaning of vocabulary, there was variations in both widening and narrowing of the meaning. 4) The lexical loss was found in Phuthai Kapong as the result of using other vocabulary to replace those of Phuthai Kapong.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ